While I thought that I was learning how to live, I have been learning how to die - Leonardo da Vinci

บทความเหล่านี้ หากเป็นประโยชน์กับท่าน ผมก็ดีใจ หากจะนำไปใช้ที่อื่น ผมก็ยินดี แต่กรุณาอ้างอิงที่มานิดนึง จัดเป็นมารยาทพื้นฐานในการใช้บทความของผู้อื่นใน internet หลายเรื่องผมต้องค้นคว้า แปลเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้อง กลั่นกรอง เรียบเรียง ใช้เวลา ใช้สมอง ใช้ประสบการณ์ การก๊อปไปเฉยๆ อาจทำให้คนอื่นคิดว่าคนที่นั่งคิดนั่งเขียนแทบตายห่ากลายเป็นคนก๊อป ผมเจอเพจที่เอาเรื่องของผมไปตัดโน่นนิดนี่หน่อยให้เป็นงานของตัวเอง ไม่อ้างอิงที่มา ไม่ละอายใจหรือ .. สงสัยอะไร comment ไว้ ผมจะมาตอบ แต่ถ้าใครมาแสดงความไพร่หรือด่าทอใครให้พื้นที่ของผมสกปรก ผมจะลบโดยไม่ลดตัวลงไปยุ่งเกี่ยว อยากระบายไปหาที่ของตัวเองครับ หมายังขี้เป็นที่เป็นทางเลยจ้ะ นี่ก็เคยเจอ ไม่รู้พ่อแม่สอนมายังไง!!!

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

วรรณกรรมไทย..


วันนี้ผมอยากจะนำเสนอวรรณกรรมไทยๆ โดยนักคิด นักเขียน บทกวีอันเลื่องชื่อ พระสุนทรโวหารหรือสุนทรภู่ที่เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็ก มารื้อฟื้นความหลังกันนิดนึง กับบรรยากาศตอนเรียนมัธยมต้น ที่โดนคุณครูบังคับให้แต่งกลอนแปดมาคนละบท นั่งงมกันเข้าไป ... กว่าจะได้ออกมาด้วยความทุลักทุเล แถมไม่ได้เรื่องอีกตะหาก ... ถ้าเอากลับบ้านได้ ต้องได้คะแนนเต็มแน่ๆ พ่อผมแต่งกลอนเก่ง

ท่านสุนทรภู่เกิดเมื่อ 26 มิถุนายน 2329 มีชีวิตอยู่ถึงปี พ.ศ. 2398 เข้ารับราชการเป็นกวีหลวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชถึง 20 พรรษา จากนั้นกลับเข้ารับราชการอีกในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าพระเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม และถูกเรียกอีกชื่อโดยชาวต่างชาติว่าเป็นเชกสเปียร์แห่งประเทศไทย

อันนี้ ที่ดังๆ ... และคนขี้เมาทุกคนก็คงชอบ ..
การดื่ม มันเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ยอมรับซะเถอะ

--- นิราศภูเขาทอง ---
ถึงโรงเหล้า เตากลั่น ควันโขมง
มีคันโพง
ผูกสาย ไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรม
น้ำนรก เจียวอกเรา
ให้มัวเมา
เหมือนหนึ่งบ้า เป็นน่าอาย
ทำบุญบวช
กรวดน้ำ ขอสำเร็จ
สรรเพชญ
โพธิญาณ ประมาณหมาย
ถึงสุรา
พารอด ไม่วอดวาย
ไม่ใกล้กราย
แกล้งเมิน ก็เกินไป
ไม่เมาเหล้า
แล้วแต่เรา ยังเมารัก
สุดจะหัก
ห้ามจิต คิดไฉน
ถึงเมาเหล้า
เช้าสาย ก็หายไป
แต่เมาใจ
นี้ประจำ ทุกค่ำคืนฯ

--- พระอภัยมณี ---
ประเวณี ตีงู ให้หลังหัก
มันก็มัก ทำร้าย เมื่อภายหลัง
จระเข้ใหญ่ ไปถึงน้ำ มีกำลัง
เหมือนเสือขัง เข้าถึงดง ก็คงร้าย
อันแม่ทัพ จับได้ แล้วไม่ฆ่า
ไปข้างหน้า ศึกจะใหญ่ ขึ้นใจหาย
ต้องตำรับ จับให้มั่น คั้นให้ตาย
จะทำภาย หลังยาก ลำบากครัน
จะพลิกพลิ้ว ชิวหา เป็นอาวุธ
ประหารบุตร เจ้าลังกา ให้อาสัญ
ต้องตัดศึก ลึกล้ำ ที่สำคัญ
นางหมายมั่น มุ่งเห็น จะเป็นการฯ

แล้วสอนว่า อย่าไว้ใจมนุษย์         
มันแสนสุด ลึกล้ำ เหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์ พันเกี่ยว ที่เลี้ยวลด       
ก็ไม่คด เหมือนหนึ่งใน น้ำใจคน
มนุษย์นี้ ที่รัก อยู่สองสถาน           
บิดา มารดารัก มักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่ง พึ่งได้ แต่กายตน            
เกิดเป็นคน คิดเห็น จึงเจรจา
แม้นใครรัก รักมั่ง ชิงชังตอบ          
ให้รอบคอบ คิดอ่าน นะหลานหนา
รู้สิ่งใด ไม่สู้ รู้วิชา            
รู้รักษา ตัวรอด เป็นยอดดี

อันความคิด วิทยา เหมือนอาวุธ
ประเสริฐสุด
ซ่อนใส่ เสียในฝัก
สงวนคม
สมนึก ใครฮึกฮัก
จึงค่อยชัก
เชือดฟัน ให้บรรลัย

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมปทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์
จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ       

อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฎิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา

มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน

เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา
จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ

แค่กลอนที่คัดมาไม่กี่บท ยังสอดแทรกข้อคิดสอนใจไว้มากมายขนาดนี้  อัจฉริยะบุคคลโดยแท้
ผมรู้สึกทึ่งจัง ที่ท่านเล่านิทานได้เป็นเรื่องๆ ยาวๆ โดยใช้กลอนแปดทั้งเรื่อง

อันนี้ไม่ใช่ของท่านสุนทรภู่ครับ เจอๆ มาแล้วไม่ได้จำว่าของใคร

ข่าวร้ายมักไปไกล ข่าวลือมักเหลวไหล
สายน้ำเปลื่ยนใจปลา กาลเวลาเปลื่ยนใจคน
ความหิวแก้ด้วยอาหาร  ความเขลาแก้ด้วยการศึกษา
ของกินไม่กินก็เน่า  ของเก่าไม่เล่าก็ลืม
ชนะอยู่ที่พวก สะดวกอยู่ที่เงิน เจริญอยู่ที่งาน ชำนาญอยู่ที่ทำ ระยำอยู่ที่ปาก

ไม่มีความคิดเห็น: