สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย
นานมากแล้ว อยู่ๆ พี่รองของผมก็ว่าบทนี้มาในไลน์ เล่นเอาผมขำลั่น เพราะไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน วันนี้นึกขึ้นได้บางคำจึงลองค้นหาดู เพิ่งรู้ว่าเป็นคาถากันภัย 10 ทิศ(คาถาโพธิบาท) มีเพจหนึ่งอ้างอิงว่าพระอาจารย์ฝั้นเป็นผู้แต่ง (ซึ่งผมไม่ทราบจริงๆ ครับ)
บางครั้งที่ไปงานศพทางพุทธ ผมกลายเป็นคาทอลิกที่นั่งพนมมือตามจนปวดแขน เพราะความไม่เคยชิน พยายามฟัง ทั้งที่เข้าใจได้ไม่กี่คำ(จากตำราที่เคยอ่านเคยฟัง) สุดท้ายทนความอยากรู้ไม่ไหวก็มาหาอ่านเอา ว่าบทสวดอภิธรรมมีที่มาอย่างไร ใช้กันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เพื่ออะไร มีความหมายว่ายังไง ลามปามไปถึงพระอภิธรรมคืออะไร
จำได้ว่าผมไปนอนอ่านเรื่องนี้ที่โรงแรมแห่งหนึ่งกลางดึก หลังโดนผีหลอก! วันนั้นเพื่อนอีกคนไปไม่ได้ ผมเลยนอนคนเดียว คืนนั้นผมนอนเปิดไฟทั้งห้อง! แต่เมื่อคุณหลอน ความสว่างก็ไม่ช่วยอะไร ใครนะช่างสร้างรูปแบบว่าผีต้องออกมาหลอกตอนกลางคืน ไม่จริงนะครับ มันหลอกผมก่อนมืดอีก เย็นนั้นผมล๊อคห้อง เพราะจะออกไปสูบบุหรี่ชมวิวที่ระเบียง ผมเอาแก้วน้ำออกมาจากกระดาษห่อเองกับมือ ยังดูว่าสะอาดดี ผมรินน้ำดื่มไปบางส่วน ใช้ป้ายห้ามสูบบุหรี่ปิดปากแก้วไว้ เมื่อกลับเข้ามา มันมีรอยลิปสติคติดสีแดงอยู่ที่ขอบแก้ว ได้ยังไงวะ เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ เสียดายที่ไม่ได้ขอดูกล้องวงจรปิดตรงทางเดิน .. ผมอาจหล่อ จนผียังหวั่นไหว!
บทสรุปส่วนใหญ่บอกว่า คนที่ไปงานศพ เข้าใจว่าไปฟังพระสวดให้คนตาย (หรือช่วยฟังและรับบุญส่งต่อให้ผู้ตาย) ทั้งที่จริงๆ แล้ว บทสวดเหล่านั้นคือธรรมะเพื่อสอนคนเป็น ปัญหาคือ(ผมเข้าใจว่า)มีคนไม่มาก ที่เข้าใจภาษาบาลี
ด้วยความอยากรู้ว่าบทสวดบาลีแทรกคำสอนอะไรไว้บ้าง ทำไมจึงได้รับความนิยม และถูกใช้ด้วยความศรัทธา วันนี้ผมเลยใช้เวลาไป 3-4 ชั่วโมง(อ่านไป 40-50 หน้าได้มั๊ง) ศึกษาที่มาและความหมายของบทสวดทางพุทธบางบท ที่น่าอายว่าไม่เคยสนใจเลย ผมศึกษาวิธีปฎิบัติทางพุทธ อ่านและฟังบทเทศน์มากมายของพระสายปฏิบัติ แต่แทบจะไม่ได้ศึกษาบทสวดบาลี ที่สรุปได้คร่าวๆ ว่าเน้นไปที่พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ความเมตตา และการไม่จองเวร
ความจริงการสวดมนต์ ส่วนหนึ่งเพื่อน้อมจิตใจให้เกิดความเมตตากรุณา ส่วนหนึ่งเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอบคุณพระพุทธเจ้าที่ทำของคว่ำให้เป็นของหงาย เปิดตาสัตว์โลก ส่วนหนึ่งเพื่อให้จิตรวม เกิดสมาธิ สติตั้งมั่นขึ้นมา จากความตั้งใจกับภาษาที่ไม่คุ้นเคย เรียกรวมๆ ว่าการปฏิบัติในรูปแบบ
พอได้สติตั้งมั่น ก็เอามาปฏิบัตินอกรูปแบบต่อไงครับ จะไปอยู่ในเรื่องสติปัฐฐาน 4 จะดูตื้นลึก แคบกว้าง ยากง่ายอย่างไร ก็อยู่ที่อุบายอันเหมาะควรกับแต่ละคน ไม่อาจเลียนแบบกันได้ เพราะอนุสัยมันต่างกัน ถ้าจะลองเริ่มแบบง่ายสุดๆ แค่ให้รู้ตัวว่าตอนนี้ใจมันสุขทุกข์ ดีชั่ว ไปพลางๆ ก่อนก็ได้ แล้วจะค่อยๆ เห็นสภาวะทางจิตที่ชัดเจนขึ้น หลากหลายขึ้น จงใช้เวลาอันมีค่า เรียนรู้ตัวเอง
เมื่อเห็นประโยชน์ เลยคิดว่าการสวดน่าสนใจ และน่าทดลองด้วยตัวเอง (สวดคริสต์กับพุทธสลับกันไปก็คงเข้าที) บางทีผมก็สงสัยเรื่องกรรมเก่า ที่ไม่รู้ว่ามีจริงไหม ผมอาจเคยไปทำอะไรไว้ ที่ไม่อาจรู้ได้ เลยต้องชดใช้อะไรให้ใครไหม เอาเป็นว่าผมจะระวังกรรมใหม่ให้มันเป็นกรรมดีแล้วกัน ทีนี้สมมุติว่าผมมีกรรมเก่า และมันแรงจนแค่สัพเพสัตตาท่าจะเอาไม่อยู่ จนต้องเดือดร้อนรำคาญใจ ก็น่าจะลองอย่างอื่นดูบ้าง คงไม่เสียหายอะไร และไหนๆ ก็รวบรวมแล้ว อย่าให้เสียเปล่า เอามาแบ่งกันอ่านครับ
ผมพบว่าที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3-4 บท ส่วนบทที่ 4 ผมประทับใจพี่รองผม เลยเอามาใส่ไว้อ่านด้วยครับ
1.
ยะถา สัพพี
2. กรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศล
3. แผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
4. คาถากันภัย 10 ทิศ
1. ยะถา สัพพี - ยะถาให้ผี สัพพีให้คน!
ยะถา วาริวะหา
ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา
จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา
ห้วงน้ำที่เต็ม
ย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด
ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้
ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วฉันนั้น
ขออิทธิผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว จงสำเร็จโดยฉับพลัน
ขอความดำริทั้งปวงจงบริบูรณ์เหมือนดังพระจันทร์วันเพ็ญ เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสว
สัพพีติโย วิวัชชันตุ
สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย
สุขี ทีฆายุโก
ภวะ อภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง
วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ
อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป
โรคทั้งปวงของท่านจงหาย อันตรายทั้งปวงจงอย่ามีแก่ท่าน
ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุขและมีอายุยืน
พร ๔ ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์
2. กรวดน้ำ มีหลายแบบครับ ทั้งอย่างย่อ อย่างยาว
บทกรวดน้ำอย่างย่อ
อิทัง เม มาตาปิตูนัง
โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
อิทัง เม ครุปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ครุปัชฌายาจริยา
อิทัง เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ เทวะตาโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า
ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้าจงมีความสุข
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติ ทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้าจงมีความสุข
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จเเก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
อิทัง เปตานัง โหตุ
สุขิตา โหนตุ เปตะโย
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย
ขอให้เปรตทั้งหลายจงมีความสุข
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข
คำอุทิศส่วนกุศล
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลแผ่ไปให้ไพศาล
ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน
คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เถิด
กรวดน้ำอย่างยาว
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ
อุปัชฌายา คุณุตตะรา อาจะริยู
ปะการา จะ มาตา ปิตา จะ ญาตะกา สุริโย จันทิมา ราชา
คุณะวันตา นะราปิ จะ พรหมะมารา จะ อินทา จะ โลกะปาลา
จะ เทวะตา ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
สัพเพ สัตตา สุขี
โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม สุขัง จะ
ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โวมะตัง อิมินา
ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ
นิพพานะโต มะมัง
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต
ภะเว ภะเว อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา มารา
ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม พุทธาทิปะวะโร นาโถ
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ
นาโถตตะโร มะมัง
เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ
มา ทะสะปุญญานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา เย เกจิ
ขุททะกา ปาณา มะหันตาปิ มะยา หะตา เย จาเนเก
ปะมาเทนะ กายะวาจามะเนเหวะ ปุญญัง เม อะนุโมทันตุ
คัณหันตุ ผะละมุตตะมัง เวรา โน เจ ปะมุญจันตุ สัพพะโทสังขะมันตุ เม
ด้วยบุญนี้อุทิศให้
อุปัชฌาย์ผู้เลิศคุณ
แลอาจารย์ผู้เกื้อหนุน ทั้งพ่อแม่แลญาติ
สูรย์จันทร์แล ราชา ผู้ทรงคุณหรือสูงชาติ
พรหมมารและอินทราช ทั้งทวยเทพและโลกบาล
ยมราช มนุษย์ มิตร ผู้เป็นกลาง ผู้จ้องผลาญ
ขอให้เป็นสุขศานติ์
ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
บุญผองที่ข้าทำจง ช่วยอำนวยศุภผล
ให้สุขสามอย่างล้น ให้ลุถึงนิพพานพลัน
ด้วยบุญนี้ที่เราทำ แลอุทิศให้ปวง สัตว์
เราพลันได้ซึ่งการตัด
ตัวตัณหาอุปาทาน สิ่งชั่วในดวงใจ
กว่าเราจะถึงนิพพาน มลายสิ้น จากสันดาน
ทุกๆ ภพที่เราเกิด มีจิตตรงและสติ ทั้งปัญญาอันประเสริฐ
พร้อมทั้งความเพียร เลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
เป็นช่องประทุษร้าย ทำลายล้ายความเพียรจม
พระพุทธผู้บวรนาถ พระธรรมที่พึ่งอุดม
พระปัจเจกะพุทธะ สมทบ พระสงฆ์
ที่พึ่งผยอง ด้วยอานุภาพนั้น
ขอหมู่มารอย่าได้ช่อง
ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
อย่าเปิด โอกาสให้แก่มาร (เทอญ)
สัตว์เล็กทั้งหลายใด ทั้งสัตว์ใหญ่เราห้ำหั่น มิใช่น้อยเพราะเผลอผลัน
ทางกายาวาจาจิต จงอนุโมทนากุศล
ถือเอาผลอันอุกกฤษฏ์ ถ้ามีเวรจงเปลื้องคิด อดโทษข้าทั่วหน้าเทอญ
3. แผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เมตตา
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
กรุณา
สัพเพ สัตตา มาลัทธะ
สัมปัตติโต วิมุจจันตุ ทุกขา ปะมุจจันตุ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น จงพ้นจากความทุกข์เถิด
มุทิตา
สัพเพ สัตตา
มาลัทธะสัมปัตติโตวิมุจจันตุ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด
อุเบกขา
สัพเพ สัตตา
กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนิ กัมมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง
กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสันติ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
เป็นผู้รับผลของกรรม
เป็นผู้มีกรรมโดยกำเนิด
เป็นผู้มีกรรเป็นเผ่าพันธุ์
เป็นผู้มีกรรมเป้นที่พึ่งพาอาศัย
กระทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้
อย่าได้มีเวร เบียดเบียนกันและกัน
จงอย่าได้มีความลำบากเจ็บไข้เลย
จงเป็นผู้มีสุขพ้นทุกข์ภัยทั้งสิ้น
ขอจงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยบุญอันเราได้กระทำแล้วทุกเมื่อเถิด
4. พระคาถาป้องกันภัยสิบทิศ
บูระพารัสมิง
พระพุทธะคุณัง
บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
บูระพารัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ
อาคะเนยรัสมิง
พระพุทธะคุณัง
อาคะเนยรัสมิง พระธัมเมตัง
อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ
ทักษิณรัสมิง
พระพุทธะคุณัง
ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง
ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ
หรดีรัสมิง
พระพุทธะคุณัง
หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง
หรดีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ
ปัจจิมรัสมิง
พระพุทธะคุณัง
ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง
ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ
พายัพรัสมิง
พระพุทธะคุณัง
พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง
พายัพรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ
อุดรรัสมิง
พระพุทธะคุณัง
อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง
อุดรรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ
อิสานรัสมิง
พระพุทธะคุณัง
อิสานรัสมิง พระธัมเมตัง
อิสานรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ
อากาศรัสมิง
พระพุทธะคุณัง
อากาศรัสมิง พระธัมเมตัง
อากาศรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ
ปฐวีรัสมิง
พระพุทธะคุณัง
ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง
ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ
รัสมิง แปลว่าทิศ ปกติมี 8 ทิศ ทิศอากาศคือเบื้องบน ทิศปฐวีคือเบื้องล่าง
บูระพารัสมิง
พระพุทธะคุณัง
บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
บูระพารัสมิง พระสังฆานัง
ขอพระคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงมาปกป้องคุ้มครองในทิศบูรพา (ทิศอื่นก็แปลเหมือนกันหมด)
ทุกขะโรคะภะยัง
วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ
ขอให้ทุกข์ โรค ภัย จงสูญหายไป
ขอให้ทุกข์ทั้งปวง โศกทั้งปวง โรคทั้งปวง ภัยทั้งปวง
เคราะห์หามยามร้าย เสนียดจัญไรทั้งปวง จงสูญหายไป
ขอให้ทรัพย์ทั้งปวง ลาภทั้งปวง จงเกิดแก่ข้าพเจ้า
ผมคาดว่า ผมน่าจะตั้งใจอ่านคำแปล มากกว่าจะอ่านบาลีที่ไม่เข้าใจเสียมากกว่า.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น