ซึ่งผมเองก็เชื่ออย่างนั้นจริงๆ ..
เป็นคน ย่อมมีความผิดพลาด
เราไม่ใช่คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักร ไม่สามารถผิดพลาดได้น้อยเท่านั้น
เหตุผลที่ทำให้ผิดพลาดต่างหาก จะเป็นตัวตัดสินว่าสามารถยอมรับได้หรือไม่
ในความเป็นจริง ความผิดพลาด ไม่อาจหาข้ออ้าง ..
คุณ ใส่ใจในงานมากแค่ไหน
คุณ มีความตั้งใจในการทำงานมากน้อยแค่ไหน
คุณ ขวนขวายที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง แค่ไหน
คุณ มีทัศนคติต่อความผิดพลาด อย่างไร
แต่ผมเหมือนต้องคำสาป
เมื่อพูดอะไร เด็กมักไม่ฟัง ผู้ใหญ่กลับให้ความเชื่อถือ
บางทีผมอาจวางตัวไม่ดี หรือมีความเป็นกันเองมากเกินไป
แต่เรื่องเล็กที่สะสม มันก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้เหมือนกัน
ถ้าสิ่งนั้น มันส่งผลให้คนอื่นต้องมานั่งตามล้างตามเช็ด ตามแก้ไม่สิ้นสุด
ทำให้ผู้ร่วมงานเสียเวลา ปวดกะบาล
หรือที่หนักกว่า ทำให้องค์กรสูญเงินและเวลา เพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น
เช่น มันเสี่ยงที่จะพลาด เลยตัดสินใจที่จะไม่ทำ .. มันไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา ว่ามั๊ย
และถึงมันจะพลาด สิ่งที่คุณจะได้คือ รู้ว่าทำไมมันไม่เป็นไปอย่างที่คิด
คุณรู้ทางเลือกแล้ว คุณรู้วิธีที่จะเสี่ยงน้อยที่สุดแล้ว
คุณมีคำอธิบายที่จะไม่มีใครกล่าวหา ว่าไร้เหตุผล
(และผมก็ชอบเล่นคนที่มีความคิดพรรค์นี้ เป็นที่สุด)
ยังมีที่แย่กว่านี้อีกนะครับ โยนปัญหาให้คนอื่นไง ง่ายและเร็ว
อันนี้ผมก็เห็นบ่อย และโดยส่วนตัว คิดว่า มันไม่น่ารักเอามากๆ
มันก็คล้ายๆ กับว่า เรารังเกียจการเลือกปฏิบัติ แต่เรากลับเลือกปฏิบัติเสียเอง
ทำงานไว้หน้าคน บางที สร้างความยุ่งยากลำบากใจให้ มากมายกว่าที่คิด
เราสามารถ ตรงไป ตรงมา ได้มากแค่ไหน จึงจะไม่มีอันตราย
เพราะ มันกลายเป็นกมลสันดานของคนส่วนใหญ่ไปแล้ว
สุดท้าย กลายเป็นสังคมเหลวแหลก ..
หากเราจะปฏิรูปความคิดให้ถูกต้อง เที่ยงธรรม .. ต้องใช้เวลาเท่าชั่วอายุคน รึเปล่า.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น