While I thought that I was learning how to live, I have been learning how to die - Leonardo da Vinci

บทความเหล่านี้ หากเป็นประโยชน์กับท่าน ผมก็ดีใจ หากจะนำไปใช้ที่อื่น ผมก็ยินดี แต่กรุณาอ้างอิงที่มานิดนึง จัดเป็นมารยาทพื้นฐานในการใช้บทความของผู้อื่นใน internet หลายเรื่องผมต้องค้นคว้า แปลเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้อง กลั่นกรอง เรียบเรียง ใช้เวลา ใช้สมอง ใช้ประสบการณ์ การก๊อปไปเฉยๆ อาจทำให้คนอื่นคิดว่าคนที่นั่งคิดนั่งเขียนแทบตายห่ากลายเป็นคนก๊อป ผมเจอเพจที่เอาเรื่องของผมไปตัดโน่นนิดนี่หน่อยให้เป็นงานของตัวเอง ไม่อ้างอิงที่มา ไม่ละอายใจหรือ .. สงสัยอะไร comment ไว้ ผมจะมาตอบ แต่ถ้าใครมาแสดงความไพร่หรือด่าทอใครให้พื้นที่ของผมสกปรก ผมจะลบโดยไม่ลดตัวลงไปยุ่งเกี่ยว อยากระบายไปหาที่ของตัวเองครับ หมายังขี้เป็นที่เป็นทางเลยจ้ะ นี่ก็เคยเจอ ไม่รู้พ่อแม่สอนมายังไง!!!

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ฟังเพลงให้มันเป็นงานเป็นการ!



ครับ ผมหมายความตามตัวอักษรแหละ ก็ถ้าเราจะฟังเพลง เราก็ต้องเสียเวลาส่วนหนึ่ง หรือสติส่วนหนึ่งให้กับมัน ดังนั้นอย่าฟังเพลงถ่อยๆ ให้เสียหู เวลากับหูคุณมีค่ากว่านั้น แล้วเพลงไม่ถ่อยพ่องเป็นยังไง ก็มีความละเมียดละไมในการประพันธ์หน่อยไงครับ ... กว้างสัส กันโดนตีน 55++
วันนี้ ผมจะมาเล่าเรื่องความน่าหลงไหลของดนตรีนีโอคลาสสิค!
นีโอคลาสสิคโดยคำพูด ไม่ได้ซับซ้อนในเรื่องรูปแบบ เอาคลาสสิคยุคเก่ามาผสมดนตรียุคใหม่ ก็เรียกนีโอคลาสสิคกันได้ละ หรือเล่นเพลงคลาสสิคเลย แต่เอาเสียงกีต้าร์ไฟฟ้าแผดเข้าไปเป็นช่วงๆ ก็ใช่ หรือเพลงยุคใหม่ทั้งดุ้น แต่เอาโน๊ตบางห้องของคลาสสิคมาใส่เพื่อแสดงความนับถือ ก็ได้เหมือนกัน
นีโอคลาสสิคแท้ๆ คือการประพันธ์ให้ใช้เครื่องดนตรีคลาสสิคและโมเดริน เล่นผสมผสานกันได้อย่างมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน โดยให้ความสำคัญพอๆ กัน ส่วนใหญ่ที่ผมเจอ มักจะเอาสไตล์ดนตรีในยุคบาโร๊คกับคลาสสิคมาเล่น เช่น โมสาร์ท บ๊าค บีโธเฟ่น วิวัลดิ แมกซ์บรัค ไทคอฟสกี้ แพกกานินี่ ไอ่ที่เปิดกันเกลื่อนๆ นั่นล่ะครับ จากแนวเปียโนไม่ค่อยเห็นนะ ผมอาจไม่เจอเอง .. ความจริงถ้ามีโอกาส ลองฟังเวอร์ชั่นที่เป็นรากเหง้าของมันบ้างก็ดี ชีวิตผมไม่ได้เริ่มจากคลาสสิคนะ มันมาจากเฮฟวี่เมทัล ย้อนไปหาคลาสสิค!
ทำไมต้องยุคพวกนั้น เพราะดนตรีส่วนใหญ่ที่เราฟังกันทุกวันนี้ พัฒนามาจากยุคนั้นเสียเยอะ ด้วยความที่มันเป็นยุคแรก ที่ทฤษฏีดนตรีเริ่มสมบูรณ์แบบ มีการเขียนโน๊ตให้อิมโพรไวส์ได้ นักดนตรีจากยุคนั้นมา เลยรู้จักที่จะหัดคิดเอง .. โอ่ะ!
ไม่ๆๆ เหตุผลหลักๆ คือ มันทำให้เราคุ้นหูกับเมโลดี้ จังหวะ อะไรๆ ที่มีในดนตรี ง่ายในการยอมรับมากกว่า แค่นั้นแหละ ใครๆ ก็คิดจะหลอกคุณ อย่าไร้เดียงสาน่า แต่เราอยากให้หลอก เราอยากได้ความพึงพอใจ ผมนี่โดนไปเต็มๆ 555+++ กุยอม
ถ้าพูดถึงคลาสสิคแท้ๆ ผมฟังได้ไม่มากหรอกครับ ส่วนใหญ่ก็เป็นซิมโฟนีกลุ่ม allegro เพราะมันให้เสียงสับสน ซับซ้อน เดินเมโลดี้ได้สุดทิศสุดทาง สะใจดี เด่นๆ ในใจผม เช่น mozart no.41 Jupitor ใครๆ ก็ชอบเนอะ มันเร้าใจ ได้พลัง หรือ Beethoven No.9 Choral 1-4 เป็นอะไรที่ถ้าหยิบฟัง ก็นั่งฟังวนๆ ไปได้ทั้งสัปดาห์ มันอลังการ ฟังได้เบื่อยาก และผมทึ่งจนไม่รู้จะทึ่งยังไง ที่เขาแต่งได้ดีสุดๆ ในขณะที่หูหนวกสนิท อัจฉริยะอะเนอะ เสียงเกิดในความคิด มือเขียนตัวโน๊ต ช่างอัจฉริยะโดยแท้
เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีมากชิ้น มันน่าทึ่งที่คอมโพสเซอร์คิดได้ยังไง ว่าควรใส่เสียงอะไรเข้าไปตรงไหน จังหวะการเล่นสอดประสาน ความลงตัวของท่วงทำนอง เมื่อก่อนผมไม่ชอบนะ อาจเพราะไปลองเพลงช้าๆ ก่อน มันก็น่าเบื่อจริงๆ อะ มาเจอกลุ่ม allegro หลงใหลเลยครับ พอมาเจอคลาสสิคพันธุ์ผสม คือเน้นคลาสสิคเป็นฐานหลัก แต่มีเสียงริทึ่มกีต้าร์ บางทีมีโซโล่แหลกราญแทรกๆๆๆ กลองชุดกำกับจังหวะหนักๆ เพิ่มเข้าไป จากกลองหลักของวงซิมโฟนี ผมถึงกับคลั่ง!
ในการฟังเพลงคลาสสิคหรือนีโอคลาสสิค คุณต้องเปิดให้ดังพอ ปรับเสียงตื้นลึกให้ดีพอ ที่จะได้ยินครบทุกเสียง ไม่งั้นมันจะขาดอรรถรสในการฟัง .. เบาไปไม่ได้ คุณจะได้ยินเสียงไม่ครบ .. ดังไปไม่ได้ เพราะเสียงที่ดังสุดจะแตกกลบเสียงอื่น .. เบสเทรเบิ้ลไม่ดีพอ บางเสียงจะหายไปหรือเบาเกินไป บางเสียงจะมากเกินไปจนน่ารำคาญ
ผมฟังความหนาแน่นของแต่ละเสียงด้วยนะ คุณลองสังเกตดูดิ ใน 1 เสียงมีอะไรตั้งเยอะ สิ่งที่จะได้จากการตั้งใจฟังดนตรีคือความรื่นรมย์ ความสนุกสนานเมื่อคิดตามว่า เสียงนี้เกิดจากเครื่องอะไร เล่นยังไง เดี่ยวหรือกลุ่ม ยาวไปถึงจับความรุ้สึกที่เกิดขึ้นในขณะที่แต่ละเสียงกระทบหูเรา
เสียงควรดังกี่เดซิเบลถึงจะดี? อันนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของหูคุณว่ะ ผมตอบไม่ได้ ความทนได้และความต้องการของแต่ละคนไม่เท่ากันนิ่
ถ้างานคุณต้องใช้ความคิด ดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้อง หรือมีแต่ฟังไม่รู้เรื่อง เป็นตัวเลือกที่ดี คุณจะได้สติที่ไม่รบกวนก้าวก่ายกัน บางทีผมฟังเพลงซิมโฟนิคเมทัลภาษาเยอรมัน คือมันเป็นเมทัลหนักสัส แทบไม่มีช่องว่างระหว่างตัวโน๊ต ที่เขาว่าเล่นได้แน่นดีอะครับ แต่มันมีการเดินทำนองคล้ายคลาสสิค เนื้อหาฟังไม่รุ้เรื่อง ผลที่ได้คือใจมันนิ่งมาก ทำงานคิดคำนวณได้เร็วกว่าปกติด้วย สมาธิโคตรดี
คอรัส เป็นอะไรที่เร่งเร้าให้อารมณ์เตลิดเปิดเปิง เคยรู้สึกหลุดออกไปจากโลกแห่งความเป็นจริงไหม ผมเป็นบ่อย ตอนความคิดทะยานไป อาการมันจะคล้ายๆ อย่างนั้นแหละ แต่อันนี้ ให้ความรู้สึกเบิกบานสุดๆ มันน่าทึ่งตรงเพลงพวกนี้จะมีคอรัสไม่กี่ประโยคเท่านั้น แต่เสียงร้องมันสุดยอด ซึ่งฟังให้ตายห่าก็ไม่รู้ว่ามันพูดอะไร .. ไม่รู้ แต่รู้สึก!
ความสนุกของผมอยู่ที่การได้เปิดหูเปิดตากับการนำเสียงจากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมาผสมผสาน เก่งอะ แม่มน่าทึ่ง
ที่น่าทึ่งกว่าคือ บางเพลงแค่ไม่กี่นาที ผมฟังเพลงเดียวต่อเนื่องได้หลายวันโดยไม่เบื่อทำนอง ยังรู้สึกดีทุกรอบ 
อ่อ แรงบันดาลใจให้ผมเขียนนี่ มาจากวง two steps from hell เขาแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์อะไรต่างๆ สารพัด มันเลยออกเป็นแนว legend หน่อย ผมเพิ่งเจอไม่นาน บังเอิญเจอในท่อ (u-tube) ลองไปเพลง เห้ยเพราะ เลยเข้าไพเรทเบย์จัดมาทั้งหมดที่มี คนแต่งเป็น composer แนวนีโอคลาสสิคสองคนร่วมกันทำงาน ออกอัลบั้มมาตั้งแต่ปี 2006 ถึงปัจจุบัน
ผมเพิ่งไล่ฟังไปได้ 2-3 อัลบั้ม ก็เจอเพลงโดนใจราว 20 กว่าเพลง ยกตัวอย่างที่ผมชอบๆ ให้ลองก่อน ผมมักชอบเพลงที่ให้ความรู้สึกตื่นตัว ทรงพลัง 55++ ... เดวมีเวลาผมจะมาอัพเดทเพิ่มเติมให้นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น: