While I thought that I was learning how to live, I have been learning how to die - Leonardo da Vinci

บทความเหล่านี้ หากเป็นประโยชน์กับท่าน ผมก็ดีใจ หากจะนำไปใช้ที่อื่น ผมก็ยินดี แต่กรุณาอ้างอิงที่มานิดนึง จัดเป็นมารยาทพื้นฐานในการใช้บทความของผู้อื่นใน internet หลายเรื่องผมต้องค้นคว้า แปลเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้อง กลั่นกรอง เรียบเรียง ใช้เวลา ใช้สมอง ใช้ประสบการณ์ การก๊อปไปเฉยๆ อาจทำให้คนอื่นคิดว่าคนที่นั่งคิดนั่งเขียนแทบตายห่ากลายเป็นคนก๊อป ผมเจอเพจที่เอาเรื่องของผมไปตัดโน่นนิดนี่หน่อยให้เป็นงานของตัวเอง ไม่อ้างอิงที่มา ไม่ละอายใจหรือ .. สงสัยอะไร comment ไว้ ผมจะมาตอบ แต่ถ้าใครมาแสดงความไพร่หรือด่าทอใครให้พื้นที่ของผมสกปรก ผมจะลบโดยไม่ลดตัวลงไปยุ่งเกี่ยว อยากระบายไปหาที่ของตัวเองครับ หมายังขี้เป็นที่เป็นทางเลยจ้ะ นี่ก็เคยเจอ ไม่รู้พ่อแม่สอนมายังไง!!!

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

วิศวกรจากมหาวิทยาลัยของรัฐ/เอกชน


ผมเคยพูดถึงมหาวิทยาลัยของรัฐมาก่อนหน้านี้ จนอาจทำให้บางท่านคิดว่า ผมมีอคติต่อสถาบันการศึกษาของเอกชนเหรอ วันนี้เลยอยากมาเล่าให้มันกระจ่างว่า ผมไม่ได้มีอคติใดๆ นะครับ ผมแค่พูดในสิ่งที่รู้มาจากแวดวงวิศวกรรม ซึ่งผมไม่ใช่วิศวกร แต่เป็นญาติผมต่างหากที่เป็นสามัญ .. ข้อมูลที่ได้ มาจากการนั่งกินเหล้าคุยกัน (วงเหล้ามันก็มีของดีนะคุณ) แต่เขาไม่เขียน ผมชอบเขียน ผมจึงเป็นเพียงคนที่เอาเรื่องของคนอื่น มาประจาน .. เรื่องพวกนี้ถ้าคุณรู้อยู่แล้ว ก็ดี ถ้าคุณยังไม่รู้ มันอาจเป็นประโยชน์อะไรได้บ้าง หรืออย่างน้อยก็รู้มากขึ้น ในความโสมมของระบบการศึกษาเมืองไทย (ที่เขาเพิ่งพูดกันในทีวีว่า ทำไมนักการเมืองถึงส่งลูกไปเรียนเมืองนอกล่ะ คุณไม่เชื่อในระบบการศึกษาที่พวกคุณรับรองกันเองหรอกหรือ นั่นล่ะ)
ด้วยความที่ญาติผมจบโยธา ซึ่งรายได้โคตรดี (นี่เป็นคำแนะนำ) เพราะโยธาสามารถจัดการได้เกือบทุกเรื่อง ในขณะที่ไฟฟ้า โทระ และเครื่องกล ทำได้ในขอบเขตงานเฉพาะด้านเท่านั้น แต่โยธาก็ต้องใช้คะแนนสูงกว่า เพราะมีคนอยากเรียนมากกว่า ก็มันทำงานได้มากกว่า .. ด้วยตัวงาน ทำให้เขาต้องพบกับวิศวกรจากหลากหลายสถาบัน หลากหลายสาขา อย่างน้อยๆ ก็เป็นร้อยคน มันเลยประมาณการได้คร่าวๆ ถึงรูปแบบของผู้ที่จบมาจากแต่ละสถาบัน .. ข้อมูลโดยรวม อาจเป็นประโยชน์กับเด็กๆ ว่าคุณจะเลือกเรียนวิศวะจากสถาบันไหนดี จึงจะไม่มีปัญหาระยะยาว ในการทำมาหากินวันข้างหน้า ผมจะไม่มานั่งไล่ให้ฟังว่าเขาเรียงลำดับกันยังไง คุณหาดูได้เองในเนท
ผมไม่เคยพูดว่ามหาวิทยาลัยของเอกชนมันไม่ดี และทุกๆ คนก็รู้ดีอยู่แล้วว่า บางแห่งเด่นมากในบางเรื่อง (ของรัฐเองก็เหมือนกัน) เช่น หอการค้า เด่นด้านบัญชีและการตลาด, หัวเฉียว เด่นด้านแพทย์และพยาบาล อีกทั้งยังมีโรงพยาบาลเป็นของตัวเองด้วย, ABAC เด่นด้านภาษาและบริหารธุรกิจ (ถ้าผมบอกว่า ABAC ไม่ดี คงโดนรุมเหยียบ ผมมีญาติหลายคนจบจากที่นั่น ทำให้เห็นศักยภาพได้ชัดเจน)
แต่ในกลุ่มผู้ปกครอง เกือบทั้งหมดอยากให้ลูกๆ ได้เรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐมากกว่า เหตุผลอยู่ที่เรื่องของการยอมรับได้อย่างแน่นอน ในเรื่องของมาตรฐานทางการศึกษา และเรื่องของค่าใช้จ่าย ถึงพ่อแม่จะร่ำรวยขนาดไหนก็ตาม เว้นแต่คุณมีความต้องการเฉพาะเจาะจงกับสถาบันนั้นๆ จริงๆ .. ยกตัวอย่างทางเลือกระหว่าง โรงเรียนเตรียมอุดมกับโรงเรียนอัสสัมชัญหรือเซนต์คาเบรียล
แต่เราก็รู้กันดีอยู่อีกว่า มหาวิทยาลัยของรัฐมีไม่มาก ทำให้การแข่งขันสูงมาก เปอร์เซนต์ของเด็กที่จะต้องมาเรียนในมหาวิทยาลัยของเอกชนจึงมีมากกว่า .. คุณก็แค่ต้องพยายามเข้าเรียนในที่ๆ มีความเด่นในสาขาที่คุณต้องการ เพื่อให้ง่ายในการประกอบอาชีพในอนาคต เพราะเรามีคนจำนวนไม่มากที่มีธุรกิจของครอบครัว หรือมีเส้นสายใหญ่โต เราจึงต้องทำตัวให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของผู้จ้าง เป็นตรรกแบบง่ายๆ ที่ตอนเด็กๆ ผมไม่ได้คิด ทุกวันนี้ก็ไม่ได้ดีเด่อะไร แต่มันรู้ เลยอยากจะเล่า เรื่องที่คนที่รู้และดีเด่แล้ว อาจไม่อยากเล่า หรือไม่มีเวลาจะมานั่งเล่า
กลับมาที่สายงานด้านวิศวกรรม เราจะเห็นได้จากคุณสมบัติที่ต้องการในประกาศรับสมัครงาน บริษัทใหญ่ๆ บางแห่งระบุชัดเจนว่า จบจากมหาวิทยาลัยของรัฐ เช่น ฤทธา .. ผมคิดว่าเขาคงรู้ข้อมูลบางอย่าง ที่มหาวิทยาลัยของเอกชนบางแห่งทำไม่งามเอาไว้ เช่น การปล่อยเกรด การติวข้อสอบให้ก่อนสอบ เอาข้อสอบน่ะแหละมาบอกกัน งงป่ะ มีจริงนะคุณ ถามๆ ดูเหอะ .. คุณอาจไม่มีปัญหาในเรื่องใบ กว. เพราะเขาจ้างอาจารย์ที่มาจากคณะกรรมการ กว. ซึ่งแน่นอนว่าต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์เอื้อถึงกัน ย่อมผลักดันให้มีการช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ .. สิ่งที่คุณต้องดูคือ ถ้าคุณต้องเรียนในมหาวิทยาลัยของเอกชน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ ให้แน่ใจว่าคุณจะได้ใบ กว. แน่ๆ เพราะถ้าคุณไม่มีใบ กว. คุณก็จะเป็นได้แค่นายช่างหรือหัวหน้าคนงาน ถึงจะจบปริญญาตรีมาเหมือนกันก็เถอะ แต่ขอบเขตของงานที่ทำได้มันต่างกัน รายได้ก็ต่างกัน ศักดิ์ศรียิ่งต่างกัน (ศักดิ์ศรีก็สำคัญ มันกินไม่ได้ แต่ทำให้คนฆ่ากันได้นะคุณ)
คุณอาจคิดว่า มันก็ง่ายดีนี่ ก็ใช่ครับ แต่บริษัทที่มีความมั่นคงเขาก็รู้ข้อมูลพวกนี้ และหลีกเลี่ยงการจ้างแรงงานที่ขาดคุณภาพที่แท้จริง เขาก็ไม่ได้โง่หรอกนะครับ .. ทำให้การมีใบ กว. อยู่ในกระเป๋าสตางค์อาจไม่พอ คุณต้องมีความรู้เพียงพอที่จะทำงานได้ด้วย สมมุติว่าเป็นงานโยธา คุณคงต้องมีความสามารถในการคิดคำนวนเรื่องระยะทาง พื้นที่ แรง อย่างเชี่ยวชาญ ซึ่งญาติผมเคยเจอวิศวกรจากมหาวิทยาลัยของเอกชนบางท่าน ไม่รู้วิธีคิดเรื่องพวกนี้ และเขาต้องมาสอนให้ที่หน้างาน มันตลกและน่ารำคาญ อย่างเรื่อง sine cos tan สำหรับผมอาจใช้เวลาครึ่งชั่วโมงในการหาคำตอบ สำหรับคำถามที่เจอปีละครั้ง 2 ครั้ง ไม่ได้ใช้ทุกวันมันก็เป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับคนที่มีฟิลด์งานเกี่ยวข้อง คงแปลกเอาการ ถ้าเขาไม่รู้ว่าต้องคิดยังไง
หรือวิศวกรโรงงาน (ผมไม่คิดว่าจะมีใครในที่ทำงานผมมาอ่านเจอหรอกนะ ถึงเจอมันก็ไม่รู้ว่าใครเขียน เพราะงั้นผมจะนินทาให้ฟัง) ในโรงงาน ผู้ที่มีตำแหน่งวิศวกรโรงงาน กลับไม่มีใบ กว. ผมว่ามันประหลาด .. (คร่าวๆ จากที่จำได้ ผมเคยเรียน safey officer แต่ทำหน้าที่นั้นอยู่ไม่กี่ปี และมันผ่านมาเป็น 10 ปีแล้ว) ในภาคอุตสาหกรรม มันต้องมีการตรวจสอบเครื่องจักร ตรวจสอบตัวโรงงาน อะไรสารพัด ต้องทำ Safety Report ซึ่งต้องการลายเซนต์รับรองจากวิศวกรเครื่องกลที่มีใบ กว. วิธีการคือ ไปจ้างเขาเซนต์เอา จ่ายเป็นครั้งๆ ไป โดยรวมแล้ว ค่าใช้จ่ายอาจถูกกว่าการจ้างวิศวกรที่มีใบ กว. ประจำโรงงาน ก็เป็นได้
ความแตกต่างคือ การจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน การพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน การดึงสมรรถนะสูงสุดของเครื่องจักรออกมาใช้ การปรับเปลี่ยนแก้ไขเพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้ดีขึ้น ความรู้ลึกซึ้งในตัวเครื่องจักร หรือถ้ามันเสียหายก็สามารถจัดการได้ในระดับหนึ่ง เรื่องเหล่านี้ วิศวกรตัวจริงกับวิศวกรตัวปลอม มีศักยภาพในการจัดการได้แตกต่างกัน แต่ก็แหละ อาจเป็นเรื่องเงินและการรับได้ในระดับบริหาร ผมก็พล่ามไปเรื่อย ก็เท่านั้น
ในงานด้านวิศวกรโยธา เป็นงานที่มีรูปแบบของเครือข่าย ไม่ว่าคุณจะมีชื่อเสียงด้านดีหรือด้านเลว เรื่องเหล่านี้จะแพร่กระจายไปในแวดวงของการทำงาน และมีผลย้อนกลับมาที่ตัวคุณและสถาบัน เพราะสิ่งแรกที่เขาจะคุยกันคือ มันชื่ออะไร จบมาจากไหนวะ .. การเรียนในสายวิศวกรรม มันเลยไม่ใช่การเรียนแค่ให้ผ่าน แต่ต้องรู้จริง ทำงานได้จริง และทำได้ดีด้วย การปิดงานไม่ได้ หรือควบคุมให้งานจบตามเวลาไม่ได้ คงไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าไหร่สำหรับผู้จ้าง มันเท่ากับคุณไม่สามารถทำงานให้สำเร็จเป็นเรื่องๆ ไปได้ บริษัทอาจเจอค่าปรับ หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เป็นหลักล้าน
ผมเคยเจออาจารย์ท่านหนึ่งที่ผมเคยเรียนด้วยในระดับมัธยมศึกษา เขานั่งเล่าเป็นคุ้งเป็นแควถึงลูกชายเขา ในการพบกันครั้งหนึ่ง ซึ่งผมก็นั่งฟังอย่างสงบ ในขณะที่หลายๆ คนดูตื่นเต้นไปด้วย .. ผมไม่ตื่นเต้นเท่าไหร่ เพราะผมรู้จักเด็กคนนี้ เขาเป็นเพื่อนกับญาติผม ไปเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐที่เดียวกัน โดนรีไทร์ตั้งแต่ปี 1 และมาเรียนในมหาวิทยาลัยของเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งญาติผมก็ยังได้เจออีกบนรถเมล์ และเขาก็เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการเรียนที่นั่น เรื่องปล่อยเกรด เรื่องติวข้อสอบ รายละเอียดในการเรียนการสอน อะไรพรรค์นี้ .. ผมเลยนึกสงสัยว่า ถ้าอาจารย์ท่านนั้นรู้ว่าผมรู้จักลูกชายเขา เขายังจะเล่าในรูปแบบนั้นไหม
สรุป วิศวกรจากมหาวิทยาลัยของเอกชนดีไหม มันก็ดี แต่ถ้าเป็นไปได้ คุณน่าจะพยายามหาทางเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐจะดีกว่า หรือไม่ก็เลือกเส้นทางสายอื่น หรือไม่ต้อง ถ้าคุณมีเส้น หรือมีธุรกิจของครอบครัว เนื่องจากเราไม่เคยเห็นกันว่ามีวิศวกรจากมหาวิทยาลัยของเอกชนที่ใด ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง .. เพราะ กว. มันไม่ได้จบแค่ได้มา แต่มันมีตั้ง 3 ระดับ ภาคี สามัญ วุฒิ แล้วคุณจะไปต่อได้ยังไง ถ้า step ที่หนึ่ง คุณยังทำให้มันหรูไม่ได้ แล้วมันสำคัญมากไหม อาจไม่ ถ้าคุณคิดว่า เกรียรติยศ ศักดิ์ศรี และชื่อเสียงเงินทอง ไม่ใช่เรื่องสำคัญ.

1 ความคิดเห็น:

ปกรณ์ กล่าวว่า...

มหาลัยของรัฐก็มีหลายเกรด ไม่ใช่ดีใปหมด