- โมหะ เป็นพ่อแม่ (หลง)
- โลภ เป็นลูก (ราคะ)
- โทสะ เป็นหลาน
หลงก่อน – พัวพัน – อยาก - ไม่ได้ก็โกรธ
รู้สึกถึงไม่ใช่ตัวเรา ใจ-กาย แยกจากกัน
ใจอยู่ส่วนหนึ่ง โลกอยู่อีกส่วนหนึ่ง
ไม่ต้องเอา ไม่ต้องทิ้ง แค่รู้ มีก็มี ไม่มีก็ไม่มี
เมื่อมีสติ จิตที่เป็นอกุศลอยู่ อกุศลจะดับทันที
ขณะที่มีสติ อกุศลจะเกิดไม่ได้
ทันทีที่มีสติ จิตกุศลเกิดแล้ว
ฝึกไว้เรื่อยๆ สติจะเกิดได้เร็วขึ้นๆ
พิจารณามาก ... ฟุ้งซ่าน
หัวใจของการปฏิบัติคือ การมีสติในชีวิตประจำวัน
พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง
จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่เติบโตเต็มที่แล้ว มันจะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง
จิตเกิดที่ไหน ก็ดับที่นั่น
วิปัสสนา .. ต้องการให้เห็นไตรลักษณ์ (ไปต่อได้)
1. ดูความรู้สึกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (โลภ โกรธ หลง)
2. ดูพฤติกรรมของจิต ว่ามันหลงวิ่งไปทางไหนของอายตนะทั้ง 6 ไม่ต้องค้นหาจิต ให้รู้เฉยๆ
นี้เรียกว่ารู้ตาม เมื่อรู้ตามจนเชี่ยวชาญ จะเกิดการ รู้ทันจิต
มันเป็นของๆ เราล้วนๆ
ไม่ต้องไปยุ่งกับคนอื่น มันไม่เกี่ยวกับคนอื่น
ความอยากของเรา เราปรุงแต่ง (ตัณหาของเรา)
โทสะของเรา เราปรุงแต่ง (ที่ใจของเรา)
โมหะของเรา เราปรุงแต่ง (อวิชชาของเรา)
ให้ออกมาเจริญสติต่อ ทำไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา
ขณะออกจากสมาธิ กับขณะทำสมาธิ
ให้รู้ความรู้สึกทุกชนิดที่มันเกิดขึ้น
ถ้าจิตส่งออกนอก จะลืมตัว ลืมใจ
จิตจะหลุดออกจากโลกของความคิด จิตจะตื่นมารู้ถึงกายใจได้
เมื่อเห็นเนืองๆ จะเห็นความจริงของกายใจ เกิดวิปัสสนาปัญญา
เห็นร่างกายเป็นวัตถุธาตุ เหมือนหุ่นยนต์ เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ
จิตใจก็ทำงานไปเรื่อยๆ สุข ทุกข์ ดี ร้าย ไม่คงที่
บังคับไม่ได้ เลือกไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
สัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
เพราะตอนละ มันจะยากกว่าเป็น 10 เท่า
เมื่อหลงไปอยู่ในโลกของความคิดแล้ว ก็จะเกิดความมีตัวตนขึ้น
เพราะอย่างนั้น ความมีตัวตน ไม่มีอยู่จริง
ความมีตัวตน เป็นแค่ความคิด เป็นทิฐิ เป็นความเห็นผิด เท่านั้นเอง
รู้ลงไปในปัจจุบัน รู้แล้วไม่เข้าไปแทรกแซง
รู้จนเห็นความจริงของเขาว่า มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
รู้จนไม่ยึดถืออะไร มันจะไหลไปสู่นิพพานเอง
สร้างภพที่ว่างๆ ขึ้นมา แล้วเข้าไปอยู่
เข้าไปแช่ อยู่ในความนิ่ง
ติดยึด .. ของมีคู่ อายตนะภายนอก-ภายใน สุข-ทุกข์
เกยตื้น .. ติดอยู่กับผลประโยชน์ ลาภสักการะ
ถูกมนุษย์จับไว้ .. ห่วง บ่วงผูกคอ
ถูกอมนุษย์จับไว้ .. ชื่อเสียง ยศ สรรเสริญ อยากเป็นพรหม
ถูกน้ำวนดูดลงไป .. กามคุณทั้ง 5 หลงไปกับสุขทางอายตนะ
จมในน้ำเน่า .. ทุศีล
จิตไปหลงกับอาการของจิต
คิดสงสัยในอาการของจิต
คิดจะแก้อาการของจิต
อย่าไปสงสัย แค่ให้รู้มันไป ถ้ามันสงสัย ก็ให้รู้ว่าสงสัย เท่านั้นเอง
เป็นผู้ดู ให้รู้สึกตัวอยู่
ถ้าส่งจิตไปพิจารณา จะกลายเป็นสมถะ
ต้องฝึกรู้ ให้จิตรู้เอง เขาจะละเอง
ระหว่างรู้ สักว่ารู้ สักว่าเห็น อย่ากระโจนลงไปรู้
รู้แล้ว จบแค่รู้ ไม่แทรกแซง ไม่ปรุงแต่ง
ไม่หลงไปตามความยินดี ยินร้าย
1. กำลังสมาธิกั้นไว้ (จงใจ)
2. กำลังปัญญากั้นไว้ (ผ่านวิปัสสนา ไม่ต้องจงใจ)
ไม่ต้องสนใจ แยกก็ช่าง ไม่แยกก็ช่าง
เพราะจิตเข้าไปเกาะเกี่ยว หยิบฉวย ยึดถือ เอากาย-ใจ มาเป็นตัวเป็นตน
วันใดที่จิตรู้ว่า กายใจนี้ เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ จะทิ้งเอง
เพราะเบื่อหน่าย จึงคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น
เพราะหลุดพ้น จึงรู้ว่าหลุดแล้ว
1. ตา
2. หู
3. จมูก
4. ลิ้น
5. กาย
6. ใจ
step แรก ผ่านข้อ 1-5 ทำให้ลืมกาย ลืมใจ
step 2 คือใจ หลงไปคิด หลงไปเพ่ง
1. ใจลอย เหม่อ เผลอ หลงไปคิด
2. เพ่ง บังคับ
โลเล ใจเสาะ อ่อนแอ ท้อแท้ ขี้บ่น ขี้เกียจ มักง่าย อินทรีย์อ่อน
เดรัจฉาน .. หลง ล่องลอย ไม่รู้ตัว ลังเล สงสัย
อสูรกาย .. ทิฐิ อวดดี
เปรต .. โลภ อยาก
พรหม .. สงบ
จิตถึงฐาน จะมีความตั้งมั่นในการรู้สภาวะ ไม่เพ่ง ไม่ส่งออก
ขณิกสมาธิ เอาไว้เดินปัญญา
คือหลงไปจากปัจจุบัน เรียกว่า ฝันตอนตื่น
ทุกข์ กิเลส เกิดตอนที่เราเผลอ
ให้จิตอยู่ที่ฐานกายตลอดเวลา
กาย .. ลมหายใจ ความเคลื่อนไหว
เวทนา .. ความรู้สึกทางกายภาพ
จิต .. ความรู้สึกทางรูปธรรม (รัก โลภ โกรธ หลง)
ธรรม .. ความคิดกุศล อกุศล พิจารณาธรรม
มันเด่นที่ไหน ให้จิตไปอยู่ที่ตรงนั้น
ฝึกจิตให้รู้สติ ถ้ามันไม่รู้ อย่าปล่อยออกไป มันจะไปตามกิเลส
ถ้ามันรู้แล้วจึงปล่อยได้ มันจะไปแบบมีสติรู้
1. อย่าเห็นเลย
2. จำเป็นก็เห็น .. อย่าพูด
3. จำเป็นก็พูด ให้พูดเท่าที่จำเป็น พูดอย่างมีสติ
4. ต้องระวังตัวตลอดเวลา อย่าปล่อยความคิด อย่าไร้สติ
5. ถ้ารู้ตัวว่า เริ่มมีจิตสกปรก ต้องหยุดทั้งหมด ถอนตัวออกมาทันที
อันนี้สำหรับคนที่ยังไม่มี และไม่อยากหาเรื่องใส่ตัว ควรปฏิบัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น