ไหนๆ ก็ฟังดนตรีมาตั้งหลายสิบปีแล้ว
เอาซะหน่อยละกันครับ ..
คุณชอบฟังดนตรีไหม..ผมขาดมันไม่ได้
มันเปิดโลกแห่งจินตนาการ สร้างความตื่นตาตื่นใจ ทำให้เลือดเดือดพล่าน
ยีนบางตัวลุกขึ้นมาโยก -- endorphine หลั่งไหล.. การฟังดนตรีมันก็มี progress
นะครับ ถ้าคุณลองสังเกตตัวเองดู แต่ก่อนจะถึงเรื่อง progress มันจะมีประเภทของการฟังดนตรีก่อนครับ..
1.
รูปแบบแรก จะเป็นการฟังอะไรก็ได้
สบายๆ ไม่ serious คนกลุ่มนี้จะค่อนข้างโชคดีครับ
คุณไม่ต้องไปดิ้นรนหาอะไรที่มันเฉพาะเจาะจงมากนัก คุณเป็นคนที่เรียบง่าย ไม่มีกิเลสมาครอบงำ น่าอิจฉาจังเลย ..
2.
รูปแบบหลังจะเป็นการฟังที่ต้องการความสุนทรีย์จากดนตรีจริงๆ
คือใส่ใจในรายละเอียดน่ะครับ ฟังมันทุกตัวโน๊ต
ทุกเสียงที่เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นสร้างขึ้น รวมทั้ง vocal chord ด้วย คนกลุ่มนี้จะต้องเดือดร้อนหน่อยครับ
เพราะความต้องการมันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ต้องคอยหาอะไรที่มันเฉพาะเจาะจงมาสนองตัณหาของตัวเองไป (ผมไม่ได้หยาบคายนะ
ทุกๆ ความอยากได้ คือตัณหา ผมกำลังพูดในสิ่งที่คุณคิดอยู่บ่อยๆ แต่จะไม่พูดมันออกมาเท่านั้นเอง)
แล้วก็อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่า มนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด มันจึงเป็นเรื่องโชคร้ายที่คุณจะฟังเพลง
style เดิมๆ ชั้นเชิงการเล่นดนตรีแบบเดิมๆ ไม่ได้นาน แต่ก็เป็นเรื่องโชคดี ที่คุณจะได้รับประสบการณ์ทางดนตรีที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนมากขึ้นเรื่อยๆ
ดนตรีมีประโยชน์เกินกว่าที่เราจะไม่สนใจนะครับ
และมันสำคัญมากสำหรับเด็กๆ ซึ่งแน่นอนว่า ถ้ามันช่วยเพิ่มพัฒนาการของเด็กได้
มันก็ส่งผลบางอย่างกับผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ถึงมันจะเห็นได้ไม่ชัดเจนเท่าในเด็กก็ตาม
ผมจะลองแยกประโยชน์ของมันออกเป็นข้อๆ นะครับ
1.
เพิ่มทักษะด้านการได้ยิน
- การฟังเสียง การแยกแยะเสียงจะดีขึ้น อันนี้จริงนะ ผมจะชอบเป็นพิเศษกับเพลงที่ค่อนข้างหนัก
แต่เสียงอะไรเล็กๆ น้อยๆ ผมก็ได้ยินนะ หูจะดีเหมือนหมาเลย ..
2.
คลื่นเสียงที่ดี
จะทำให้คลื่นสมองและเซลล์ประสาททำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้คุณสามารถเชื่อมโยงความคิดหลายๆ
อย่างได้ในเวลาเดียวกัน มองเห็นอะไรในมุมที่กว้างขึ้น และเห็นได้หลายด้านในคราวเดียวกัน
คุณจะประเมินสถานการณ์ได้ดีขึ้น
3.
ช่วยสร้างสมาธิ
คุณจะได้สมาธิที่ยาวนานขึ้น ส่งผลให้การเรียนรู้ดีขึ้น ถ้าเรียนรู้ได้ดี อะไรๆ
ก็ดีไปหมดล่ะครับ
4.
เพิ่มทักษะด้านภาษา
จากการทำความเข้าใจข้อความที่อยู่ในบทเพลง .. เพลงไทย
จะทำให้คุณได้เจอกับภาษาที่สละสลวย ช่วยให้คุณสามารถเรียบเรียงคำพูดได้ดีขึ้น
เอามาใช้พูดให้คนฟังรื่นหูได้ (แต่ถ้าไม่อยากใช้ มันก็อีกเรื่องหนึ่ง) .. เพลงนอก
คุณก็ได้ศัพท์ต่างประเทศไงครับ ได้เรียนวิธีใช้ grammar อีกด้วย
ผมรู้ศัพท์จีนตั้งหลายคำก็เพราะฟังเพลงจีนนี่ล่ะครับ เริ่มจากเพลง soundtrack
“the moment of romance” นั้นแหละครับ ที่ผู้หญิงร้อง ..
เสียงหวานจับใจ
5.
เพิ่มทักษะด้านความจำ
เพลงที่คุณชอบจะทำให้คุณจำทำนอง จังหวะ รูปแบบการเล่น และเนื้อร้อง เป็นการกระตุ้นให้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำได้รับการพัฒนามากขึ้น
เราก็จะจำอะไรได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น มากขึ้น
6.
สร้างจินตนาการ
เมื่อคุณฟังเพลง คุณต้องคิด ต้องตีความ ทั้งเนื้อร้อง ทำนอง เสียงของเครื่องดนตรี นึกภาพตามว่าเขาเล่นด้วยเทคนิคไหน
ทำให้สมองซีกขวาทำงานมากขึ้น ซึ่งเป็นด้านที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์
แต่วิทยาศาสตร์การดนตรีบอกว่า เพลงบรรเลงสร้างจินตนาการได้มากกว่าเพลงที่มีเนื้อร้อง
ก็เป็นไปได้นะ เพราะเนื้อร้องมันก็จะตีกรอบความคิดไปในตัวด้วย แต่กว่าจะเต็มกรอบ
คุณก็จินตนาการไปได้ไกลอยู่หรอกครับ
7.
พัฒนาด้านอารมณ์และความรู้สึกในการตอบสนองต่อเสียงต่างๆ
.. คุณต้องเจอทั้งเพลงที่ชอบและไม่ชอบล่ะน่า ในชีวิตประจำวันคุณก็จะเจอเสียงทั้ง 2
แบบน่ะแหละครับ เหมือนกัน..
8.
ช่วยผ่อนคลาย
อันนี้ก็แล้วแต่คนนะครับ เพลงที่ผมฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลายสุดๆ คุณอาจจะฟังแล้วเกิดอาการประสาทแดก
เพลงที่คุณฟังแล้วเคลิบเคลิ้มสุดๆ อาจทำให้ผมอยากจะอ้วกก็ได้
มันเป็นเรื่องของรสนิยมที่แตกต่าง ไม่มีใครผิดหรอกครับ
นอกเสียจากว่าคุณต้องการจะใช้รสนิยมในการเข้าสังคม หรือได้รับการยอมรับจากคนอื่น
คุณก็คงต้องเปลี่ยนมันหน่อย ..
ดนตรี เป็นอีกเรื่องที่ยัดเยียดให้กันไม่ได้
นอกจากเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกคุณ (ที่ผมเคยบอกไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า มีอะไรดีๆ
ก็ยัดมันเข้าไป) แต่อย่าไปทำกับคนอื่นเลยครับ
ความหวังดีของเราอาจไม่ใช่เรื่องดีของเขาก็ได้ แล้วคุณจะเสียเวลาไปเปล่าๆ
Tips ครับ
-
คุณรู้ไหม เพลงที่มีความซับซ้อนมากๆ เช่นเพลง classic
จะทำให้คุณมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการแยกเสียงต่างๆ ที่ดังพร้อมกันออกจากกันได้
เครื่องดนตรี 100 กว่าชิ้น จะทำให้คุณฟังได้สนุกไม่รู้เบื่อ
ถ้าคุณไม่เบื่อทำนองของมันเสียก่อนนะครับ
เมื่อเราลองฟังแยกตามประเภทของเครื่องดนตรี เช่น เครื่องสาย
ที่มีทั้งแบบดีดและคันชัก (ปัญหาคือแบบคันชักมันก็ดีดได้ด้วย ลองดูช่วงกลางๆ ครับ), เครื่องเป่า, เครื่องให้จังหวะ มันจะทำการพัฒนาสมาธิของคุณได้อย่างดี
เพราะคุณต้องเพ่งความสนใจไปที่เสียงแบบเดียว โดยตัดเสียงแบบอื่นออกไป
-
วิธีการทดสอบหูของคุณว่ามันยังใช้การได้ดีอยู่ไหม
ให้เอานิ้วชี้กับนิ้วโป้งถูกันเบาๆ ห่างจากรูหูสักนิ้วนึง คุณต้องได้ยิน
ถ้าคุณไม่ได้ยินอะไรเลย คุณก็ต้องหาทางแก้ปัญหาแล้วล่ะครับ
แล้วดนตรีมันมีมานานขนาดไหนแล้วล่ะ
.. จากการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่าดนตรีมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เสียอีก
มีการค้นพบเครื่องเป่าที่ทำจากกระดูกสัตว์ จากยุคของนีแอนเดอร์ธัล อายุราว 4-8 หมื่นปี .. ผมกำลังพยายามสร้างภาพคนตัวโตๆ
ผมเผ้าหนวดเครารกรุงรัง สวมชุดหนังสัตว์ที่มีขนเต็ม นั่งเป่าขลุ่ยที่ทำจากกระดูกสัตว์อยู่ข้างกองไฟ
รอให้มื้อค่ำสุกได้ที่ .. ผมชักหิวแล้วสิ
สิ่งที่ค้นพบทำให้ต้องกลับมาทบทวนความรู้เก่า
เดิมเชื่อว่าดนตรียุคแรกเลย น่าจะเป็นการร้องรำทำเพลง
ตีเกราะเคาะไม้กันไปตามเรื่อง แล้วมาพวกกลอง ระฆัง พวกเครื่องตีน่ะครับ หลังจากนั้นจึงมีเครื่องเป่ากับเครื่องสาย
แต่ก็น่าคิดนะครับ เพราะขลุ่ยสามารถทำขึ้นใช้งานได้ง่ายกว่าเครื่องสายหรือระฆัง
แต่ส่วนใหญ่มันทำมาจากไม้ไผ่หรือต้นอ้อ เลยทำให้ไม่เหลือหลักฐานมาให้เราดู
ทำให้คนรุ่นหลังคิดว่าเครื่องเป่ามันมาที่หลัง เท่าที่ผมจำได้จากความหลงไหลในเรื่องอียิปต์โบราณ
เมื่อสามพันกว่าปีก่อนเขาก็มีเครื่องสายใช้กันแล้วครับ
มาดูเครื่องดนตรีทางตะวันออกกันดีกว่าครับ
ก็คงต้องเป็นจีนล่ะครับ
เพราะเขาเป็นชนชาติที่รวมตัวและรุ่งเรืองมาก่อนใครในภูมิภาคนี้
ตามตำราเรียนจะบอกว่า เมื่อมนุษย์มีกินมีใช้ (เกษตรกรรม, ประมง, ปศุสัตว์, ค้าขายแลกเปลี่ยน) มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมดสงคราม
จึงจะมีการพัฒนาทางด้านศิลปวัฒนธรรม ก็คงจริงครับ แต่คำพูดนี้คงเอามาใช้กับเครื่องดนตรีไม่ได้
ที่พบในจีนมันมีทุกยุคเลยครับ ไม่ว่าจะมีสงครามหรือไม่
เพราะจีนเป็นแผ่นดินที่สงบได้ไม่นานก็รบกันอีก คนมาก ที่ก็กว้าง ใครๆ ก็อยากใหญ่
เลยยึดกันไปยึดกันมา เกิดสงคราม เพราะตัณหาของคนไม่กี่คน ..
ที่ผมคัดมาเป็นตัวอย่างนี้จะเป็นตัวหลักๆ
นะครับ ที่มีอายุมากๆ ส่วนใหญ่ขุดพบจากหลุมฝังศพคนใหญ่คนโตน่ะ .. แค่เครื่องดนตรีสักชิ้นยังเอาไปด้วยไม่ได้เลยครับ
ไม่ว่าในชีวิตของเขาจะรู้จักคำว่าพอหรือไม่ก็ตาม
1.
ซุน – อายุ
7000 ปีเป็นอย่างน้อย เดิมทำจากกระดูกสัตว์ที่มีโพรง
ภายหลังพัฒนามาทำด้วยเครื่องปั้นดินเผาทรงกลมรี ด้านหนึ่งมี 6 รู เป็นเครื่องเป่า
ที่นิยมกันทั่วไป เพลงจีนที่ใช้ซุนเล่น ก็เพราะดีครับ เสียงจะออกคล้ายเขาสัตว์
แต่ให้เสียงได้มากกว่า
2.
ขลุ่ยเซียว –
อายุราว 3000 ปีขึ้น เป็นขลุ่ยรุ่นแรกๆ ครับ ลำขลุ่ยค่อนข้างยาว
ทำจากไม้ไผ่ข้อสั้นๆ หน้าตาคลาสสิกมากครับ
ต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็นขลุ่ยอย่างที่เราเห็นกันในหนังจีนนั่นแหละครับ
ความไพเราะของขลุ่ย คงไม่ต้องพูดถึง
3.
กลองจีน –
อายุราว 3000 ปีขึ้น ยุคแรกใช้ปลุกใจทหาร เคลื่อนทัพ และให้สัญญาณในยุทธวิธีการรบครับ
ภายหลังจึงนำมาใช้เพื่อความบันเทิงด้วย เช่น เชิดสิงโต เล่นงิ้ว ประกอบดนตรี 9ล9..
ผมคิดว่ากลอง ทำให้เรารู้สึกตื่นตัว ..
4.
ระฆังชุด –
อายุราว 2500 ปี อันนี้เป็นเครื่องดนตรีไฮโซครับ ต้องไปฟังในวังหลวงเท่านั้น ใช้เพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ชนชั้นปกครอง
เป็นระฆังหลายๆ ขนาดที่ให้เสียงต่างกัน ถ้าคุณอยากรู้ว่าระฆังอย่างเดียวมันจะไพเราะได้ยังไง
ต้องไปหา download
ดนตรีจีนโบราณมาฟังกันดู ก็ไม่เลวหรอกครับ ใช้คำว่า Chinese ancient music กับ pirate bay ครับ ยังมีให้ download อยู่ เป็นดนตรีโบราณจริงๆ ก็ฟังยากอยู่ครับสำหรับผม
ฟังแล้วรู้สึกเหมือนเป็นขุนน้ำขุนนางไหม ก็ไม่นะ
5.
ฉิน / กู่ฉิน
– อายุราว 3000 ปี เป็นเครื่องสายที่มีมาก่อนกู่เจิ้ง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
กว้างพอๆ กับ keyboard computer ยาวประมาณหนึ่งเมตร ขึงสาย 7 เส้นไปตามความยาว finger board มีความโค้งรับกับฝ่ามือ ไม่มีสะพานรองสายระหว่างหัวท้าย ไม่มี
fret
ฉินเป็นเครื่องดนตรีที่เน้นเล่นตามอารมณ์ของผู้เล่นครับ ไม่เน้นผู้ฟัง
จึงเป็นที่นิยมกันในกลุ่มนักปราชญ์ แต่ยังไงก็ต้องรู้ทฤษฏีดนตรีอยู่ดี ไม่อย่างนั้นคงไม่สามารถเดิน melody ให้ไพเราะได้ .. จากสามก๊กตอนที่ขงเบ้งดีดพิณบนกำแพง
นั่นเป็นฉินครับไม่ใช่พิณหรือเจิ้ง คุณจะเห็นความงามของเสียงฉินได้จากสามก๊กศึกผาแดงตอนโจโฉแตกทัพเรือ
ที่ขงเบ้งกับจิวยี่เล่นประชันกัน
ไพเราะมากครับ หรือจากหนังเรื่อง hero ตอนที่
donnie yen กับ jet li สู้กันด้วยทวนและดาบ แล้วมีผู้เฒ่าตาบอดดีดฉินประกอบฉาก action สวยงามครับ ทั้งดนตรีทั้งกระบวนท่า
ผมอยากจะบอกว่า hero หรือชื่อจีนว่าอิงสง เป็น recommand movie ครับ เพราะหนังเรื่องนี้เทคนิคการถ่ายทำสวยงามอลังการมาก และสอดแทรกแง่คิดไว้มากมายทีเดียว คุ้มค่ากับเวลาที่ต้องเสียไปในการนั่งดูแน่นอนครับ
6.
เจิ้ง / กู่เจิ้ง
– อายุราว 2500 ปี อันนี้คงไม่ต้องบรรยายมาก องค์ฟ้าหญิงทรงให้เห็นอยู่บ่อยๆ
และเป็นเพลงที่หาดูใน youtube ได้ง่ายกว่าฉิน .. อยู่ในยุคจ้านกว๋อ เชื่อว่าเดิมเป็นเครื่องดนตรีของเมืองฉิน
น่าจะเพราะมันวิวัฒน์มาจากฉินรึเปล่า พอจิ๋นซีฮ่องเต้รวบรวมแผ่นดิน
เครื่องดนตรีนี้ก็แพร่หลายไปทั่ว เพราะสามารถสร้าง melody
ได้มากกว่าฉินนั่นเองครับ ปัญหาก็แค่ขนาดของมันเท่านั้น เจิ้งเป็นเครื่องดนตรีที่ผมไม่เคยเห็นผู้ชายเล่นเลยนะ(ส่วนฉิน
ผู้หญิงไม่ค่อยเล่น) แต่ต้องให้ผู้ชายยกให้ครับ มันใหญ่โตมโหฬาร แถมคนที่เล่นเก่งๆ
ใช้ 2 ตัว ผมไม่รู้ว่าเสียงต่างจากการตั้งสายหรือเนื้อไม้ต่างกัน แต่ก็ได้ melody
ยกกำลังสอง คนฟังได้กำไรครับ
7.
ผีผา –
อายุราว 2500 ปี มันเหมือนเป็นกีตาร์คลาสสิคของจีนน่ะครับ ผมเคยเห็น liu fang เล่นเพลง the ambush ใน
youtube มันมีทั้งความอ่อนโยน แข้งกร้าว ดุดัน
ภายในเพลงเดียว สุดยอดมากครับเธอคนนี้ เธอเก่งหลายอย่างด้วยครับ
เจิ้งเธอก็เล่นได้ดีไม่แพ้กัน
8.
คงโห –
อายุราว 2000 ปี ลักษณะคล้าย harp แต่เล็กกว่ามาก นิยมใช้เล่นกันทั่วไป ทั้งในวังและประชาชน
แต่ภายหลังเสื่อมความนิยมลงไป ในจีนจะพบภาพคงโหแบบต่างๆ ในรูปภาพเท่านั้น
แต่มาพบคงโหเก่าเก็บในญี่ปุ่น
9.
เอ้อหู –
อายุราว 1000 ปีขึ้น มันคือซอน่ะแหละครับ คล้ายๆ ซอด้วงบ้านเราแต่กระบอกเป็นเหลี่ยม
เสียงก็คล้ายกัน มีแค่ 2 สาย แต่ระดับเสียงกว้างถึง 3 ช่องเสียง
อาจเรียกได้ว่าเป็นไวโอลินจีนเลยครับ
10. ขิม – อายุราว 600 ปี
เป็นการรับเข้ามาผ่านการค้าขายกับเปอร์เซียในสมัยราชวงศ์หมิง
หน้าตาเหมือนขิมของเราแหละครับ สายพันธ์เดียวกัน
ทีนี้มาดูวิวัฒนาการของดนตรีตะวันตกกันมั่งดีกว่าครับ
ทั้งหมดมันก็เป็นดนตรีชั้นสูงแหละ แต่ไม่ต้องถึงกับปีนบันไดฟังกันหรอกครับ พี่เขาก็พูดเกินไป
เมื่อก่อนชาวบ้านเขาก็ฟังกันอย่างนี้แหละครับ ตั้งแต่กษัตริย์ยันสามัญชน
เพราะมันไม่ได้มีดนตรีเกลื่อนกลาดเหมือนเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องเลือกอะไรมาก
ดนตรีที่ออกมามันมีคุณภาพหมด เพลงห่วยเขาไม่กล้าเอามาเล่นให้เสียชื่อเขาหรอกครับ
.. ต่างจากยุคนี้ ที่มันต้องเลือกครับ
เพราะดนตรีที่ไร้คุณภาพมันออกมาสู่ท้องตลาดค่อนข้างมาก
อาศัยกลยุทธ์ทางการตลาดกระหน่ำเปิดมันเข้าไป เดี๋ยวก็ดังเอง
แต่ฟังแล้วมันจะเสียหูครับ .. ถ้าแรงไปก็โทษที ผมพยายามรักษาจรรยาบรรณของการเขียน
คือพูดเรื่องจริงน่ะครับ ใครฟังไม่ได้ก็ไม่ต้องฟัง ..
ถามว่า
มันจำเป็นต้องรู้พื้นฐานทางดนตรีไหม ก็ไม่จำเป็นหรอกครับ ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบฟังเพลงแบบผ่านๆ
ไม่ได้สนใจอะไรเป็นพิเศษ ..
แต่ถ้าคุณอยากจะได้อะไรจากดนตรีที่คุณอุตส่าห์นั่งเลือกมาฟัง
มันจะเป็นประโยชน์มากครับ คุณอาจจะบอกว่า ชั้นไม่เห็นต้องมีความรู้ทางดนตรีชั้นก็ฟังเพลงให้ไพเราะได้
ก็ถูกครับ แต่ถ้าคุณรู้ มันจะเปลี่ยนโลกของคุณ
เพราะมันเป็นรากฐานของเพลงที่เราฟังๆ กันอยู่นี่หล่ะครับ จะได้รู้ว่ามันมีที่มายังไง
มันมีกระบวนการและรูปแบบการสร้างเสียงมาจากอะไร
ผมคงไม่ลงลึกมากนะครับ
เอาแค่พอเป็นพื้นฐานในการฟังเพลงเท่านั้น มันจะทำให้เราเข้าใจตัวดนตรีได้มากขึ้น
สามารถซาบซึ้งกับสิ่งที่ศิลปินพยายามถ่ายทอดออกมาได้ดีขึ้น
ได้อรรถรสในการฟังมากขึ้น .. ลงลึกมาก เดี๋ยวมันจะยาวเกิน น่าเบื่อด้วย
เอาแค่พอเป็นประโยชน์ในการฟังดนตรีให้สนุกขึ้นก็แล้วกันครับ ถ้าจะหาข้อมูลทำรายงาน
เชิญ search net
ได้ตามสะดวกครับ ..
ส่วนดนตรียุคใหม่ ไอ้พวก ballad, pop, dance, jazz, blue, rock, heavy metal, death,
neoclassic, symphonic metal คงต้องแยกเอาไปละเลงกันคราวหน้า
.. แต่เราต้องผ่านพื้นฐานของดนตรีกันไปให้ได้ก่อน อยากจะบอกว่า
มันยากบัดซบเลยที่จะเข้าใจมันได้ดีๆ .. มาลองดูกันว่า มันจะยากสักแค่ไหน
ทางวิทยาการด้านการดนตรี
แบ่งยุคของดนตรีออกเป็น 9 ยุคด้วยกันครับ
ว่ากันมาตั้งแต่หลักฐานเก่าสุดที่ยังหลงเหลืออยู่เลยครับ เชื่อกันว่า
ดนตรีมีมานานกว่านั้นมาก แต่มันไม่มีอะไรที่พอจะจับประเด็นได้
เลยไม่รู้จะเอาอะไรมาพูดน่ะครับ
ก็มาเริ่มกันตรงที่มันพอจะมีอะไรให้ศึกษากันได้นั่นแหละครับ
1.
Ancient
Greek Music - ยุคกรีก
2.
Roman
- ยุคโรมัน
3.
The
Middle Age - ยุคกลาง
4.
The
Renaissance - ยุคเรอเนซองส์
5.
The
Baroque Age - ยุคบาโรค
6.
The
Classical Period - ยุคคลาสสิก
7.
The
Romantic Period - ยุคโรแมนติก
8.
The
Impressionistic - ยุคอิมเพรสชันนิส
9.
The
Twentieth Century - ยุคศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน
จบ .. เฮ้ยยัง
แต่เผื่อขี้เกียจอ่านต่อ เอาแค่นี้พอ ก็ได้ครับ .. แต่ถ้ารู้สึกว่ามันไม่พอ มาลงรายละเอียดตื้นๆ
กันหน่อยแล้วกันครับ แล้วจะฟังเพลงได้มันส์ขึ้น เชื่อผมสิ ..
1.
Ancient
Greek Music - ยุคกรีก -- แบ่งย่อยเป็น 5 ยุคด้วยกันครับ และคาดว่าน่าจะเป็นดนตรีแบบ monophonic คือ เน้นเสียงแนวเดียวในด้านทำนอง ยังไม่มีแนวการประสานเสียง
ซึ่งมีทั้งเพลงบรรเลง เพลงร้องและคอรัส บางทีก็มีการเต้นรำประกอบด้วย
1.
Mythical Period : จากเริ่มต้น -1000
BC (ก่อนคริสตกาล) คือมันสูญหายไปน่ะครับ
เลยกลายเป็นเรื่องลึกลับไป คาดว่าเป็นดนตรีที่ใช้ในพิธีบวงสรวงเทพ Apollo, Zeus,
Dionysus เครื่องดนตรีก็จะเป็นพิณไลร่า (Lyre)
.. เดี๋ยวจะงง .. อพอลโล เป็นเทพแห่งความสว่างครับ
เกี่ยวข้องกับเรื่องเหตุผล ความถูกต้อง ความดีงาม คุณธรรม ซึ่งเดี๋ยวนี้เขาไม่เอามาสอนกันแล้ว
พ่อแม่ไม่สอน ครูไม่สอน ก็พอดี.. เด็กฉลาดชาติเจริญ, ซีอุส
เป็นเทพแห่งความรู้ครับ, ไดโอนีซัส เป็นเทพแห่งไวน์
เกี่ยวข้องกับความป่าเถื่อน ความสนุกสนาน ความลึกลับ ความมืด .. แล้วคุณเชื่อไหมว่า ความป่าเถื่อนยังมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนจนถึงทุกวันนี้
แม้มันจะเป็นยุคศิวิไลซ์แล้วก็เถอะ
คุณลองนึกถึงตอนที่คุณอยากตบหรืออยากถีบคนอื่นดูสิครับ อย่าบอกนะว่า ไม่เค๊ย
ไม่เคย .. คุณต้องเป็นเทวดาแน่เลยครับ
2.
Homeric Period
: 1000-700 BC เราจะรู้จักกันดีจากมหากาพย์ของโฮมเมอร์นั่นแหละครับ อะงง..ถ้าผมบอกว่าม้าไม้แห่งกรุงทรอย
หรือ Trojan ที่ทำคอมคุณเจ๊งบ่อยๆ ..
ร้องอ๋อเลยใช่ไหม นั่นล่ะครับเกี่ยวกันหมด .. เอามาขับร้องกันตามบ้านขุนนาง มีพิณไลร่าเล่นประกอบด้วยครับ
ในหมู่ชาวบ้านก็จะมีเครื่องดนตรีเป็น Panpipe กับ Kithara
– Panpipe จะรูปร่างเหมือนแคน ใช้กันในหมู่คนเลี้ยงแกะ ส่วน Kithara จะรูปร่างคล้ายพิณไลร่า ใช้ประกอบการร้องเพลง chorus ในพิธีต่างๆ งานแต่ง งานศพ ใช้หมด .. แล้วคุณจะเอางานไหนดี
งานแต่งบางคนก็ไม่เจอนะครับ แต่งานศพทุกคนต้องเจอแน่ ..
ขอให้ได้ฟังเพลงที่ชอบกันทุกคนละกัน
อ้าว..ผมไม่ได้แช่งนะ ตอนโชแปงจะตายเขายังขอให้เล่นเพลง Requiem ของ Mozart ในงานศพของเขาด้วยเลยครับ .. cool
..
3.
Archaic Period
: 700-550 BC เริ่มนิยมดนตรีในรูปแบบของบทกวี เรียกกันว่า lyric คำนี้ยังใช้กันอยู่เลย
ถ้าคุณจะเอาเนื้อเพลง คุณก็ต้องพิมพ์คำว่า lyric ต่อท้าย ..
จะเป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกและอารมณ์ของคนแต่ง เริ่มกล้าบอกให้โลกรู้กันแล้วนะเนี่ย
4.
Classical Period
: 550-400 BC มีการพัฒนาการร้องเพลงเป็นแบบโต้ตอบกับกลุ่ม
chorus ทำให้เกิดละครเพลงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การดนตรี
โรงละครกลางแจ้งก็เริ่มตอนนี้ล่ะครับ
5.
Hellinistic
Period : 440-330 BC มีการค้นพบทฤษฏีของเสียงแล้วครับท่าน
โดย Pythagoras ที่คิดเลขยากๆ มาให้เราเรียนกัน
คนนั้นแหละครับ เขาพบวิธีสร้างระยะขั้นคู่เสียง จากการทดลองว่าสายที่มีความยาวต่าง
ให้ความสั่นต่าง ให้เสียงต่าง งานนี้กลายมาเป็นหลักการเรื่องบันไดเสียงในเวลาต่อมา
จนเกิดระบบ mode ที่สามารถสร้างเสียงที่ทำให้คนฟังเกิดความรู้สึกได้ครับ
.. ในเวลานั้น Aristotle ที่เป็นศิษย์เอกของเพลโตก็ออกทฤษฏีมาว่า
ดนตรีมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์
ซึ่งกลายมาเป็นพื้นฐานที่สำคัญของดนตรีมาจนถึงทุกวันนี้เลยทีเดียวครับ ..
และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราถึงไม่ควรฟังเพลงส่งเดช
ทำไมต้องเลือกเพลงที่จะให้ลูกเราฟัง
2.
Roman
- ยุคโรมัน -- ราวๆ 146 BC โรมันยึดกรีกได้
แล้วก็รับวัฒนธรรมด้านดนตรีของกรีกมาทั้งดุ้นแหละครับ จนมาถึงปี 205 AD (Anno Domine หลังพระเยซูเกิดครับ) ถึงเริ่มมีการพัฒนารูปแบบที่เห็นได้ชัดเจน
โดยยึดทฤษฏีดนตรีของกรีกเป็นหลักไว้ก่อน แล้วจับมาผสมกับทฤษฏี Neo-Platonic ซึ่งเน้นว่าดนตรีส่งผลกับจิตใจมนุษย์
เลยมีการสแกนเพลงทุกเพลงที่จะออกมาใช้ในพิธีทางศาสนาหรือเล่นให้ทหารฟัง ..
ดนตรีในยุคนี้ได้รับการพัฒนามาจากฐานความรู้ทางดนตรีของกรีกครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณสมบัติของเสียง การจัดระเบียบของเสียง ระบบบันไดเสียง
การจัดหมวดหมู่ของจังหวะ ระบบการบันทึกสัญลักษณ์ทางดนตรี
และหลักการในการประดิษฐ์เครื่องดนตรี
พวก church
music ก็ถูกแต่งขึ้นจากระบบบันไดเสียงโบราณครับ
ตามหลักวิชาดนตรีสากลเขาจะเรียกว่า church mode เลย ซึ่งเป็นทฤษฏีรากฐานของเพลงร้องทั้งหลายมาจนถึงปัจจุบันแหละครับ
บทเพลง chant หรือเพลงสวดในวัดของยุคนี้จะเป็นการขับร้องโดยไม่มีดนตรีประกอบ
และนี่คือ vocal chords แท้ๆ .. มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ ครับ
1.
Authentic Church
Mode หรือบันไดเสียงออเธนติค
โดยให้โน้ตขั้นแรกของบันไดเสียงทำหน้าที่เป็น key note คือเป็นศูนย์รวมของเสียงตามขั้นต่างๆ
ของบันไดเสียง เรียก Finalis ใน mode นี้จะมี
4 ขั้นบันไดเสียงคือ
-
Dorian (Protus
Authenticus)
-
Phrygian (Deuterus
Authenticus)
-
Lydian (Tritus
Authenticus)
-
Mixolydian
(Tetardus Authenticus)
2.
Plagal Church
Mode จะเริ่มจากโน้ตที่อยู่ต่ำกว่าโน้ต Finalis ในระยะเสียงคู่ 4 มีอยู่ 4 ขั้นบันได้เสียงเหมือนกันครับคือ
-
Hypo-Dorian
(Protus Plagalis)
-
Hypo-Phrygian
(Deuterus Plagalis)
-
Hypo-Lydian
(Tritus Plagalis)
-
Hypo-Mixolydian
(Tetrardus Plagalis)
ทำไมผมต้องพูดเรื่อง mode ซะเยอะแยะ และดูมันจะเป็นเรื่องไกลตัว จริงๆ แล้วมันไม่ไกลเลยครับ
มันถูกใช้ในเพลงทุกเพลงในปัจจุบัน กับดนตรีทุกชิ้น เสียงร้องทุกเสียง
ถ้าคุณอยากจะหัดเล่นดนตรีสักชิ้น คุณต้องเจอกับ mode
พวกนี้ล่ะครับ เลี่ยงไม่ได้แน่
3.
The
Middle Age - ยุคกลาง -- 450-1450 AD แต่จะเจริญสูงสุดในศตวรรษที่
12-13 โดยมีบทเพลง 2 แบบครับ
-
แบบแรกจะเป็นเพลงวัด
(church music หรือ sacred
music) ซึ่งมีอายุยาวนานกว่า
ยังเป็นเพลงร้องอย่างเดียวไม่มีดนตรีประกอบเหมือนสมัยโรมันครับ ไม่มีอัตราของจังหวะ
ร้องไปเรื่อยเปื่อย ใช้ภาษาลาติน มีช่วงกว้างของทำนองจำกัด
บันทึกไว้เป็นภาษาตัวโน้ตเรียก neumatic notation
-
แบบหลังจะเป็นเพลงชาวบ้าน
(secular music)
เป็นการร้องเสียงเดียว มีดนตรีประกอบด้วยอัตราจังหวะ 3/4
ใช้จังหวะสม่ำเสมอ รูปแบบทวนซ้ำ มีทำนองเป็นตอนๆ .. อ้อ ไอ้เพลงตลาดของเรา
มันมาจากอันนี้นี่เอง
ราวๆ คริสตศตวรรษที่ 9 เพลง chant
หรือที่นิยมเรียกกันอย่างเป็นทางการว่า Gregorian Chant เริ่มเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการร้องแบบ
polyphony เป็นการร้องคนละเสียงน่ะครับ แต่พอเอามาร้องพร้อมๆ
กันแล้วมันเพราะน่ะ เรียกลักษณะเพลงแบบนี้ว่า organum
คือร้องประสานเสียง 2 แนว โดยใช้ระยะเสียงคู่สี่เป็นหลัก
ช่วงแรกจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ต่อมาเริ่มไม่จำกัดทิศทาง ช่วงหลังกลายเป็น
เสียงที่หนึ่งใช้เสียงสูง 5-10 ตัวโน้ต ในขณะที่เสียงที่สองใช้เสียงต่ำเพียง 1
ตัวโน้ต คุณจะเจอเพลงแบบนี้ง่ายๆ ในพวกเพลง christmas choir
น่ะครับ มีการแบ่งย่อยออกเป็น 2 สมัยด้วยกันครับ
1.
Ars Antique (The Old Art) คือสมัยศิลป์เก่า
จะอยู่ราวกลางคริสตศตวรรษที่ 12 ถึงปลายคริสตศตวรรษที่ 13
เป็นช่วงแรกของการใช้รูปแบบ polyphony
เรียกลักษณะการประพันธ์เพลงแบบนี้ว่า motet โดยนำทำนองจากเพลง
chant มาใช้ ให้มีเสียงต่ำยาวหนึ่งเสียง
และมีเสียงสั้นที่จังหวะการเคลื่อนที่ของตัวโน้ตเร็วกว่าเพิ่มมาอีก 2 เสียง
บางทีก็ใช้เครื่องดนตรีเล่นแทนคนร้อง .. อีกรูปแบบหนึ่งเรียก conductus เป็นลักษณะเดียวกับ motet แต่ไม่ได้ใช้ทำนองของเพลง
chant เป็นการแต่งขึ้นมาใหม่ เนื้อหาก็มีทั้งศาสนา การเมือง
เสียดสีสังคม .. ยุคนี้จะมีเสียงตั้งแต่ 2 แนวถึง 4 แนว ตัวเพลงเริ่มมีจังหวะ 3/4 , 6/8
2.
Ars Nova (The
New Art) คือสมัยศิลป์ใหม่ เริ่มนิยมใช้จังหวะคู่ 2/4 มากกว่า 3/4 ตามแบบเดิม มีรูปแบบการประพันธ์เพลงแบบใหม่คือ madrigal เป็นการทวนซ้ำทำนองหนึ่ง แล้วจบด้วยอีกทำนองหนึ่ง มีแนวเสียง 2-3 แนว
มีการเปลี่ยนจังหวะในหนึ่งบทเพลง ไม่ได้ใช้จังหวะเดียวทั้งเพลงเหมือนในยุค Ars
Antique
ตัวเลขอัตราจังหวะ จะบอกถึงจำนวนตัวโน้ตที่ต้องเล่นใน 1
ห้องเสียงครับ เช่น 3/4 คือให้เล่น 3 ใน 4 ของ 1 ห้อง ถ้าเป็น 6/8 คือให้เล่น 6 ใน 8 ของ 1 ห้อง
วันนี้ผมเจอเพลง death
waltz ดนตรีปีศาจ เป็นเพลงสำหรับเปียโน มีหลาย 10 ตัวโน้ตใน 1
ห้องเสียง ถ้าคุณไปดูโน้ตในบรรทัด 5 เส้น มันจะดูเหมือนไม่มีทางที่คนๆ
เดียวจะเล่นได้ เขาเคยลองให้เล่นโดยคน 3-4 คน ก็ยังเล่นไม่ได้ แต่สาวน้อยคนนี้เธอเล่นได้ดีทีเดียว
ฟังดูเหมือนเพลงกลุ่ม etude นะครับ ไม่ค่อยไพเราะ
แต่น่าตื่นตา
ชื่อคีตกวีของยุคที่เก่งๆ เผื่ออยากจะไปหา download
1.
Leonin (Ars
Antique), 1130-1180 เลโอนินเป็น conductor ของวง notre dam – paris ด้วยครับ
2.
Perotin Magnus
(Ars Antique), 1160-1220 แมคนัสเป็น
conductor ของวง notre dam – paris อีกน่ะแหละ
เป็นศิษย์น้องของ leonin
ที่ช่วยกันบุกเบิกดนตรีแบบสอดประสานทำนองมาด้วยกัน
3.
Jacapo Da Bologna
(Ars Nova) ไม่รู้ปีครับ จาคาโปแต่งเพลงไว้เยอะเลย
ทั้ง madrigal, caccia, motet, laude เขาจะเด่นในเรื่องของแนวทำนองที่ชัดเจน
สร้างจินตนาการ ใช้จังหวะและการเคลื่อนที่ของแนวเสียงที่ไม่ขึ้นแก่กัน แต่กลมกลืน
4.
Francesco Landini
(Ars Nova), 1325-1397 แลนดินีเป็นลูกของจิตรกรแต่ดันตาบอดตั้งแต่เด็ก
เลยต้องหันมาเอาดีทางดนตรี เขามีพรสวรรค์ในการเล่น organ
มากครับ สามารถเล่นได้ไพเราะและมีเทคนิคมากมาย
แนวการประพันธ์เพลงของเขาจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง
และถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีกว่าคีตกวีที่มีมาก่อน เป็นต้นแบบของเพลง madrigal ของยุค ars nova
5.
Guillaume De
Machaut (Ars Nova), 1300-1377 มาโชท์เป็นนักบวชชาวฝรั่งเศสครับ เลยส่วนใหญ่เป็นเพลง mass ซึ่งก็ดังมาก แต่ก็มีเพลงของชาวบ้านด้วย ผลงานของท่านจะเด่นในการสอดประสานทำนองได้อย่างลงตัวและสวยงาม
4.
The
Renaissance - ยุคเรอเนซองส์ -- 1450-1600 AD ตัวดนตรียังมีความคล้ายคลึงกับยุค Ars Nova
แต่พัฒนารูปแบบมากขึ้น เพลงบรรเลงเป็นที่นิยมมากขึ้น
แต่เพลงร้องก็ยังได้รับความนิยมอยู่ ยังคงเน้นสไตล์ polyphony เพลงมักจะมีเสียง 3-4 แนว มี soprano, alto, tenor, bass โดยแนว soprano จะเด่นสุด
ช่วงแรก เริ่มมีการร้องแบบ imitative style คือล้อเสียงกันน่ะครับ
และมีการนำรูปแบบของ motet และ cannon มาใช้ในเพลง
mass ด้วย เพลงที่ใช้ในพิธีทางศาสนาคริสต์น่ะครับ ..
ช่วงหลัง มีการใช้รูปแบบของ fugue ซึ่งพัฒนามาจากดนตรีแบบ cannon เป็นการล้อทำนองที่มีความซับซ้อนและมีกฏเกณฑ์มากขึ้น และมีรูปแบบเพลงใหม่เกิดขึ้นคือ
corale เป็นการนำเพลง chant
มาใส่อัตราจังหวะเข้าไปน่ะครับ
สรุปกันหน่อยดีกว่า ชักงงแฮะ .. ยุคนี้จะมีการใช้การร้องแบบ
polyphony 3-4 แนว ซึ่งในศตวรรษที่
16 ถือเป็นยุคทองของ polyphony เลยครับ, มีการพัฒนา rhythm ในแบบ double time และ triple time ขึ้นมา,
ใช้การประสานเสียงแบบคู่ 3 ทั้งในการขับร้องและบรรเลง
ชื่อคีตกวีของยุค
1.
John Dumstable,
1390-1453 ดัมสเตเบิลเป็นคีตกวีแล้วยังเป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์อีก
คนอะไรวะ เขาประพันธ์ทั้งเพลงร้อง เพลง mass เพลง motet
และยังเป็นต้นแบบของเพลงประสานเสียงยุคใหม่
2.
Guillianum Dufay,
1410-1497 ดูเฟย์เป็นคนที่สืบทอดดนตรีฝรั่งเศสต่อจากมาโชท์
ช่วงแรกเขาสนใจเพลงชังซองที่เป็นเพลงชาวบ้าน ภายหลังจึงมาใส่ใจ church
music และแต่งเพลง mass ไว้มาก รวมถึงเพลง motet
ด้วย
3.
Johannes Ockeghem,
1410-1497 ดนตรีของโอคีกัมเน้นการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก
เขาพัฒนา imitative style จนกลายมาเป็นต้นแบบของเพลง
fugue ที่ Bach นิยมใช้น่ะครับ
เขาสร้างผลงานไว้หลายแบบ มีทั้ง mass, requiem, motet
และเพลงชาวบ้าน แต่ผลงานส่วนใหญ่จะเป็น church music ครับ
4.
Josquin Des
Prez, 1440-1521 เดอเพรซ์เคยทำงานให้พระสันตะปาปา..
แนวเพลงเขาค่อนข้างละเอียดอ่อน เพลงประสานเสียงเน้นความมีพลัง
แนวของเขาถูกเรียกกันว่า musica reservata แปลว่า
ดนตรีสำหรับผู้ที่เข้าถึงได้ ดนตรีของเขาถือกันว่าเป็นตัวแทนของดนตรียุค renaissance เลยครับ ผลงานดีเด่นก็จะเป็นพวก church music
5.
Thomas Tallis,
1505-1585 ทัลลิสเป็นนัก organ ด้วยครับ รู้สึกว่าจะเก่งหลายด้าน ไม่ใช่เฉพาะด้านดนตรีอย่างเดียว
แต่ข้อมูลที่หามาได้ ก็ไม่พูดถึง ไปหาต่อเอาเองนะครับ
6.
Giovanni Pierluigi
Da Palestrina, 1524-1594 ปาเลสตรินาเป็นเด็กในการปกครองของพระสันตะปาปาอีกแล้วครับ
แน่นอนดนตรีที่ออกมาเลยเป็นแนว church music ซะส่วนใหญ่
และถูกจัดเป็นเพลงที่ประสานทำนองได้ดีมากที่สุดในยุค renaissance เพลงดังสุดของเขาคือ Mass for Pope Marcellus (missa papae
marcelli) เป็นแนวบริสุทธิ์สวยงาม เดี๋ยวผมต้องไปหาฟังมั่งละ
ยังจะมีหรือเปล่าหนอ
7.
William Byrd,
1543-1623 เบิร์ดเป็นนัก organ ด้วย เขาอยู่ในยุคที่มีความขัดแย้งในศาสนาคริสต์ โดยตัวเขาเป็นคาทอลิก
แต่เขาก็แต่งเพลง church music
ให้ทั้งของนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายแองกลิกัน (นิกายใหม่ของอังกฤษ ตอนแรกใช้ชื่อ the
church of england)
เพลงของเขาได้รับอนุญาติให้ตีพิมพ์โน้ตดนตรีเป็นคนแรกและคนเดียวในยุคนั้น
8.
Claudio Monteverdi,
1567-1643 มอนแทแวร์ดีทำงานให้ราชสำนักกับวัดหลายแห่ง
เขาฉีกแนวดนตรีแบบเก่าทิ้ง แล้วเริ่มดนตรีที่เน้นบทร้องมากขึ้น เรียกกันว่า word
painting เพื่อแสดงอารมณ์และความรู้สึกของเนื้อหา เขาโยนรูปแบบ polyphony
ทิ้ง แล้วหันมาให้ความสำคัญกับ monophony ซึ่งเป็นการร้องแนวเดียว
เพลง mass และเพลง madrigal
ของเขาจะเป็นเรื่องเป็นราวทางศาสนา และเป็นจุดเริ่มของเพลง opera ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดสำหรับดนตรีประกอบ opera
กลายเป็นการถือกำเนิดวง orchestra ขึ้นมา
5.
The
Baroque Age - ยุคบาโรค --
1600-1750 AD เริ่มในต้นคริสตศตวรรษที่
17 ถึงกลางคริสตศตวรรษที่ 18
รูปแบบดนตรีค่อนข้างจะอลังการงานสร้างและให้ความรู้สึก,
มีแบบแผนในการแต่งเพลงใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกมาก,
มีการแยกหมวดหมู่ของบทเพลง, มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ในงานด้านดนตรี, นิยมใช้บันไดเสียง major และ minor แทนที่จะเป็น mode, การบันทึกตัวโน้ตเริ่มพัฒนามาเป็นบรรทัด
5 เส้น ค่อยคุ้นเคยกันหน่อยแล้วครับ นักดนตรีทั้งหลายคงถอนหายใจกันอย่างโล่งอก - อ้อ
opera ถือกำเนิดและพัฒนาไปได้สวยด้วยครับ คนนิยมกันทั้งเมือง
..
แต่ผมฟังไม่ออกว่าเขาพูดอะไร เคยดู funny classical ใน u-tube .. มี conductor ท่านหนึ่งคุณ Rainer Hersch เขาเอาข้อความภาษาอังกฤษกวนๆ
ขึ้นจอในขณะที่ร้อง opera ก็ตลกดีครับ แปลว่าฝรั่งก็ฟังไม่ออกเหมือนกัน ..ผมเคยเจอวง symphonic meal ทำเพลง ballad ได้ไพเราะมาก Non
Ho Sonno จนอยากรู้ความหมาย
เจอภาษา italian เข้าให้ เอ๋อไปเลยครับ แต่ก็ทำให้ได้ศัพท์มาหลายคำ
ในช่วงแรกของยุค ดนตรีแบบ polyphony ลดความนิยมลงไป หันมาให้ความนิยมสไตล์
monophony และเพิ่มสไตล์ basso continuo เข้าไป คือเอาเสียงเบสเข้ามาเป็นเสียงคลอ สร้างทำนองประสานทำให้เกิด chord ขึ้น แต่หลังจากนั้นคีตกวีก็กลับไปให้ความสนใจกับ polyphony อีก แล้วนำไปรวมกับรูปแบบของ fugue + organcorale + toccata
ซึ่งแต่งด้วยเทคนิค counterpoint คือจุดที่ตัวโน้ตมาเจอกันแล้วสอดประสานกันได้อย่างลงตัวน่ะครับ
พอมาถึงช่วงปลายยุค ก็เกิด counterpoint แบบใหม่ขึ้น และมีการเอา
monophony มารวมกับ polyphony ได้เสียงที่ซับซ้อนขึ้นมากกว่าการใช้แบบ
polyphony เพียงอย่างเดียว กลายมาเป็น homophony ซึ่งเป็นการใช้เสียงประสานแบบอิง chord และใช้เสียงหลายแนวมาทำให้เสียงแนวหนึ่งเด่นขึ้น
และยังช่วยให้ counterpoint มีความสมบูรณ์มากขึ้น
ลักษณะเด่นของยุค baroque คือเรื่องของ contrasting คือเน้นความต่างในด้านความเร็ว-ความช้า,
ความดัง-ความค่อย, การบรรเลงเดี่ยว-การบรรเลงแบบกลุ่ม
ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากผลงานประเภท sonata, concerto, symphony และ
cantata .. คีตกวีนิยมแต่งเพลงแนว church cantata กันไว้เยอะมากครับ ที่โดดเด่นก็มี mass in B minor
ของ Johann Sebastian Bach และ the messiah ของ Handel ..
ยุคนี้คีตกวีจะไม่แต่งท่อนบรรเลงไว้อย่างสมบูรณ์นะครับ
ใจกว้างและกล้าแฮะ แต่เขาสามารถทำได้
เพราะนักดนตรีต้องมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฏีดนตรีด้วย
เลยไม่ต้องห่วงเรื่องที่จะทำให้เสียทางเพลง .. เป็นการเปิดโอกาสให้นักดนตรีได้แสดงฝีมือ
เรียกกันว่า improvisation ภาษาบ้านๆ
คือด้นสดน่ะแหละครับ ได้รับความนิยมสูงมาก นักดนตรีจะได้แสดงลูกเล่นและเทคนิคในแนวของตนเองได้อย่างเต็มที่
มีอะไรก็ใส่เข้าไป เรียก ornamentation ซึ่งมีการเอามารวมเป็น
album ให้เราๆ ได้ฟังกันด้วยนะครับ .. มิน่า ว่าทำไมเพลงเดียวกัน
แต่ละวงเล่นไม่เหมือนกัน มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
ชื่อคีตกวีของยุค .. ผมเชื่อว่าคุณต้องเริ่มคุ้นหูกันแล้วล่ะครับ
1.
Antonio Vivaldi,
1678-1741 วิวัลดิเป็นลูกนัก
violin ของโบสถ์ saint mark เลยได้เรียนดนตรีกับพ่อเป็นคนแรก
มีแววว่าจะรุ่ง เลยมาเรียนต่อกับอาจารย์ดังของยุค Giovanni Legrenzi โตมาก็มาสอนดนตรีให้สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าหญิงแห่งเวนิช .. ดนตรีของ vivaldi จะมีความปราณีตมากๆ ทำให้คนฟังเคลิ้มได้ง่ายๆ
ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงร้องที่เล่นกับเครื่องดนตรีกลุ่มเครื่องสาย ที่ดังจนใครๆ
ก็รู้จัก คงเป็น the four seasons นั่นแหละครับ
2.
Johann Sebastian
Bach, 1685-1750 บ๊าคเป็นคนเยอรมันที่เกิดในตระกูลนักดนตรี
พ่อเป็นนัก violin ในราชสำนัก เขาเรียน violin และทฤษฏีดนตรีจากพ่อและญาติๆ จากนั้นเรียน organ
กับพี่ชายและครูสอน organ ชื่อ Elias Herder ฝีมือก้าวหน้าเร็วมากจนพี่ชายหมั่นไส้ เก็บโน้ตไปซ่อนหวังสกัดดาวรุ่ง
แต่ก็หยุด bach ไม่ได้ .. เขาเล่น organ และ clavier ได้ยอดเยี่ยม
เป็นคนแรกที่เริ่มใช้นิ้วโป้งกับนิ้วก้อยในการเล่น clavier
ด้วยครับ และยังเป็นหัวหน้าวงประเสียงตามโบสถ์หลายแห่งในเยอรมัน ในปี 1723 bach ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการเพลงร้องที่โบสถ์ Saint Thomas
ในเมือง Leipzig ซึ่งตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งสูงสุดทางด้านดนตรีของโบสถคริสต์นิกาย
Lutheran เลยครับ
bach ตายในปี 1750
ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของยุค baroque เลยทีเดียว ..
ที่น่าเสียดายคือ ไม่มีใครเก็บรักษาผลงานของเขาไว้ดีๆ เลย
ปล่อยกระจัดกระจายและหายไปมาก .. ในปี 1829 หลัง bach
ตายเกือบ 100 ปี Felix Mendelsohn คีตกวีชาวเยอรมัน
ได้นำเพลง Saint Matthew Passion ของ bach ออกแสดงที่กรุง berlin ทำให้ bach กลับมาเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงอีกครั้ง ขอบคุณครับท่าน ไม่งั้นชาวโลกคงพลาดอะไรดีๆ
ไปเยอะ .. bach ถือเป็นตัวแทนของดนตรียุค baroque เลยครับ เพลงที่ได้รับความนิยมมากๆ ก็จะมี air on G string,
toccata and fugue in D minor, brandenberg concerto ..
อีกเพลงที่ผมเจอและไม่อยากให้คุณพลาด Magnificat
in D BWV 243 ของ bach ครับ
(ตัวเต็มจะฟังยากไปสำหรับผม) เป็น homophony ที่อลังการมาก counterpoint
ก็สมบูรณ์แบบ มีความซับซ้อนสูงแต่ชัดเจน ขนาดหูหยาบๆ อย่างผมยังฟังแล้วขนลุกเลยครับ
มันสร้างอารมณ์ได้สุดๆ ดึงความรู้สึกให้ลื่นไหลไปกับเสียงเพลงได้จริงๆ คิดไม่ออกว่าเขาทำได้ยังไง
ช่างมันเหอะ เราแค่ได้ดื่มด่ำกับมันก็เหลือจะพอแล้วครับ ผมว่าเพลงนี้เล่นที
คงได้ยินไปถึงสรวงสวรรค์เลยทีเดียว
ในแนวเพลง heavy metal ผมเจอดนตรีของ bach แทรกอยู่บ่อยๆ ผมถึงกล้าบอกว่า
เขาไม่ได้มาเล่นอะไรมั่วๆ ให้คุณฟัง เขาเรียนมาเป็นเรื่องเป็นราว และเขายกย่อง bach
มากด้วย ถึงพยายามเอาดนตรีของ bach
มาเผยแพร่ต่อ อย่าง Yngwie Malmsteen ที่จัดว่าเป็นมือกีต้าร์ชั้นเซียนยังลงทุนทำอัลบั้ม
Concerto Suite For Electric
Guiter And Orchestra In E Flat Minor ซึ่งน่าฟังมากครับ
และได้รับการตอบรับสูงจนทัวร์คอนเสริตกันไม่หวาดไม่ไหว ผมรู้จัก bach เพราะเขานะ ..
มันเป็นข้อดีของการบันทึกตัวโน้ตครับ
ที่ทำให้นักดนตรีทุกคนที่รู้เรื่องโน้ตและมีฝีมือพอ สามารถเล่นมันได้ ด้วยเสียง
ทำนอง จังหวะ และความเร็วเดียวกันกับเมื่อหลายร้อยปีก่อน ..
มันน่าทึ่งครับที่ได้รู้ว่า กว่าเขาจะมาเล่นให้เราฟังได้
เขาต้องเรียนรู้มามากขนาดไหน เราจะเห็นคุณค่าของดนตรีมากขึ้น เขาไม่ได้เล่นส่งๆ
(บางคน อาจจะ) เราก็ไม่ควรฟังผ่านๆ เหมือนกัน จริงไหมครับ
3.
George Frideric
Handel, 1685-1759 ฮันเดลตอนเด็กถูกพ่อบังคับให้เรียนกฏหมายครับแต่ไม่เอา
เขาชอบดนตรีและเล่นไวโอลิน ฮาร์ปสิคอร์ด และออร์แกนได้ตั้งแต่อายุ 11 ขวบ
สุดท้ายพ่อก็ต้องยอมส่งให้เขาเรียนเทคนิคการเล่นดนตรี, การประสานเสียง, counterpoint รวมถึงการแต่งเพลงเบื้องต้นด้วย ..
เขาเริ่มแต่ง italian opera ตั้งแต่ปี 1706-1710 ตอนอายุได้
21 พออายุได้ 25 เขาก็รับตำแหน่งผู้อำนวนการวงดนตรีของผู้ครองนคร hanover แล้วครับ ขึ้นเร็วมากเลยครับ เขาไม่แต่งงาน
แต่อุทิศทั้งชีวิตให้กับงานด้านดนตรี .. เขาแต่ง opera 46 เรื่องและดนตรีอีกเกือบ
200 เพลง .. ตอนที่แก่มากแล้วเขาตาบอด แต่ก็ยังให้เพื่อนคนหนึ่งซึ่งคอยดูแลเขาด้วย
คอยจดโน้ตเพลงตามที่เขาบอก ทำงานดนตรีจนตายจริงๆ ครับคนๆ นี้
6.
The
Classical Period - ยุคคลาสสิก -- 1750-1820 AD หลังการตายของ J.S.Bach
ในปี 1750 ก็ไม่มีใครทำดนตรีแบบ baroque
ได้ดีอีกเลย มาเริ่ม the high classical era ในปี 1780 เขาเรียกช่วงหลังการตายของ
bach ว่า the early classical period
คิดว่าภาษาบ้านๆ คงเป็นช่วงปิดปรับปรุงมั๊งครับ ไม่มีอะไรเด่นๆ ออกมาให้เห็น ความต่างของ classic กับ baroque คือ
-
ในยุค baroque ดนตรีจะมี texture ที่ซับซ้อนและยุ่งยาก แต่พอมาถึงยุค classic ดนตรีจะมีโครงสร้างที่ชัดเจนขึ้น
-
ไม่นิยมใช้รูปแบบของ
counterpoint และ basso
continuo แต่หันมาเน้นทำนองหลักทำนองเดียวแล้วให้มีเสียงแนวอื่นมาประสานช่วยให้ทำนองหลักไพเราะขึ้น
-
คีตกวีจะเขียนโน๊ตไว้ครบ
ไม่ปล่อยว่างไว้ให้ improvise อีก
.. เผด็จการน่าดู
-
เพลงในยุคนี้จะเป็นดนตรีแท้ๆ
ไม่ใช่เพลงที่ทำขึ้นเพื่อบรรยายเรื่องราวอะไร
-
ไม่ใส่อารมณ์ของคีตกวีลงไปมาก
-
รูปแบบของ dynamic จะสบายๆ ไม่เครียดเหมือนกับยุค baroque และถูกใช้เป็นตัวชูโรงให้ดนตรีมีความน่าตื่นใจ
-
มีกฏเกณฑ์ของโครงสร้างทางดนตรีที่ชัดเจนให้ยึดเป็นแนวทางปฎิบัติที่เคร่งครัด
-
มีการพัฒนา melodic style ใหม่ที่รัดกุม เรียบง่าย
และเด่นชัด
-
รูปแบบ homophony กลายเป็นองค์ประกอบของ theme คือทำนองหลักน่ะครับ เป็นการบรรเลงคลอไปแบบ broken chord
-
Harmony หรือการประสานเสียงนั่นแหละครับ จะมีความซับซ้อนน้อยกว่ายุค baroque
-
Counterpoint
ก็ลดความสำคัญลงไป กลายเป็นแค่ส่วนหนึ่งของ sonata ท่อนใหญ่ๆ เท่านั้น
ชื่อคีตกวีของยุค กลุ่มนี้จะยิ่งคุ้นกันเข้าไปใหญ่
1.
Christoph Willibald
Gluck, 1714-1798 กลุคเป็นคีตกวีและเป็นนักทฤษฏีด้วยครับ
เขาให้ความสำคัญกับเรื่องราวและอารมณ์ของผู้แสดง opera และ ballet
แทนที่จะเป็นองค์ประกอบเว่อร์ๆ ที่ใช้ทำการตลาด ..
งานที่ได้รับการยอมรับที่สุดของเขาคือ premiered in vienna
ในปี 1762 .. เขาได้สร้าง operatic reform ที่ถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบสำหรับการแต่ง
opera ในยุคหลัง และมีอิทธิพลต่อการแสดง opera ของ mozart, berlioz และ wagnor ด้วยครับ
2.
Franz Joseph
Haydn, 1732-1809 เฮย์เดินเป็นชาวออสเตรียเกิดในครอบครัวชาวนายากจนครับ
โตมาด้วยการร้องเพลงประสานเสียง เล่น harpsichord และสอนดนตรี
เขาเริ่มแต่งเพลงและได้เป็นผู้นำวง orchestra ในปี 1761
เขาได้พบ mozart ในปี 1781 และกลายเป็นเพื่อนสนิทกัน เขาแต่งเพลงไว้เกือบทุกประเภท
ทั้ง symphonies, oratorio, sonatas, quartets, operas, concerto รวมหลายร้อยเพลงครับ
3.
Wolfgang Amadeus
Mozart, 1756-1791 โมสาร์ทเป็นชาวออสเตรเลีย
เกิดในครอบครัวนักดนตรี พออายุ 5 ขวบเขาก็เล่น clavier ได้ในระดับดี
พอ 7 ขวบก็ทัวร์คอนเสริตแล้วครับ พ่อเขา Leopard Mozart เป็นคีตกวีและเป็น
conductor นักร้องประสานเสียงและวง orchestra ของราชสำนักด้วยครับ
เขาเดินทางไปทั่วเพื่อการแสดงตั้งแต่ 7-15 ปี ทำให้ได้เรียนรู้ดนตรียุโรปที่หลากหลาย
เขาจับยำใหม่จนกลายมาเป็นสไตล์ของตัวเอง ..
mozart เป็นคีตกวีคนแรกในประวัติศาสตร์ครับ
ที่ทำงานโดยไม่ขึ้นกับโบสถ์ ราชสำนัก หรือเจ้านายคนไหน .. นักวิจารณ์กล่าวว่า
ดนตรีของ mozart มีความปราณีตในทุกรูปแบบของดนตรี ..
ผลงานที่สร้างไว้ ก็มีทุกอย่างล่ะครับ บรรยายไม่หมด ที่ผมหา download มา ก็น่าจะ 400-500 เพลงได้ แต่ผมเพิ่งจะฟังไปได้สัก 70-80 เพลงในกลุ่ม
symphony เองครับ คือชอบอะไรที่มันยุ่งๆ และเป็น allegro นั่นล่ะครับ mozart ตายตอนอายุ 36 ผมอดคิดไม่ได้ว่า
ถ้าเขาอยู่ถึง 80 เราจะได้เจองานดีๆ ขนาดไหนกัน .. ศพถูกฝังอย่างสามัญชน
ที่ทุกวันนี้ยังหาที่ฝังที่แน่นอนไม่ได้ ใครจะไปนั่งขุดดูทุกหลุมล่ะครับ
ไม่น่าสนุกเท่าไหร่
4.
Ludwig Van Beethoven,
1770-1827 บีโธเฟ่นเป็นชาวเยอรมัน มีชื่อเสียงด้าน symphonies,
chamber music, piano sonata, mass, opera, oratorio เออ..ก็เกือบทุกด้านแฮะ
ที่เด่นสุดคือ symphony 9 บทของเขา บทที่ 1 เริ่มในปี 1797
ตอนอายุ 27 บทสุดท้ายแต่งเสร็จในปี 1823 ตอนอายุ 53 ใช้เวลา 25 ปี มันเลยเป็น
symphony ที่มีความแตกต่างในตัวเองค่อนข้างมาก และแหวกแนวจากดนตรี classic ในยุคนั้น ..
คุณเคยฟัง fur elise ไหม ผมได้ฟังครั้งแรกที่เล่นโดย trans siberian orchestra มันมีความสง่างามมากๆ .. แต่ beethoven ก็ถูกคนในยุคเดียวกันพูดถึงว่า
เป็นคนป่าเถื่อนและสติไม่สมบูรณ์ แล้วไง เพลงของเขา ได้รับการยอมรับว่าเป็นดนตรีที่เยี่ยมยอด
..
symphony no.9 ถูกแต่งขึ้นหลังจากที่หูของเขาหนวกสนิท
สำหรับผมแล้วมันเข้าหูที่สุดในบรรดา symphony เลยครับ
เรื่องเศร้าคือ เมื่อการแสดงครั้งแรกจบลง คนดูโห่ร้องปรบมือกันนานมาก
เขาเป็นคนเดียวที่ไม่ได้ยิน จนนักร้องคนหนึ่งจับตัวเขาหันมาดูความสำเร็จของตัวเขาเอง
7.
The
Romantic Period - ยุคโรแมนติก -- 1820-1900 จะมีลักษณะต่างจากยุคคลาสสิกอย่างชัดเจนมากครับ
เช่น
-
classic เน้นรูปแบบ (formality) -- romantic เน้นเนื้อหา (content)
-
classic เน้นเหตุผลของเสียงที่เกี่ยวข้อง (rationalism) -- romantic เน้นอารมณ์ (emotionalism)
-
classic นำเสนอความคิดบนพื้นฐานของความจริง ไม่เอาอารมณ์ของคีตกวีใส่ไปมาก (objectivity)
-- romantic นำเสนอความคิดที่เป็นอารมณ์ของคีตกวี (subjectivity) ซึ่งแสดงออกถึงจินตนาการและความรู้สึกเป็นหลัก
ว่ากันว่าดนตรี romantic เกิดขึ้นเพราะ beethoven เป็นผู้บุกเบิก
คุณต้องลองฟังดูละกันว่าจริงไหม ลักษณะเด่นของยุคนี้คือ
1.
คีตกวียุคนี้ไม่ขึ้นอยู่กับใคร
จึงสร้างงานได้อย่างอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ต้องทำดนตรีให้งดงามตามแบบแผน
2.
อยู่ภายใต้อิทธิพลของลัทธิชาตินิยม
และลัทธินิยมเยอรมัน
3.
องค์ประกอบของดนตรีมีแนวสำหรับการขับร้องมากขึ้น, ไม่จำกัดความยาวของ phrase, โครงสร้างและการเรียงลำดับคอร์ดประสานเสียงมีอิสระ, ลดความสำคัญของเสียงหลักในคีย์ลง,
ให้ความสำคัญกับรูปแบบ homophony มากกว่า counterpoint,
ใช้ dynamic มาทำให้เป็นจุดเด่นของดนตรี ..
สรุปว่า ผมไม่ชอบครับ แต่จะเอาให้จบให้ได้ .. ไม่แน่
วันหน้าอาจจะชอบ
ชื่อคีตกวีของยุค
1.
Gioacchino Rossini,
1792-1868 รอสซินีเป็นชาวอิตาเลียนครับ
พ่อเล่น horn และ trumpet
แม่เป็นนักร้องเสียง soprano เขาเรียนการแต่งเพลงแบบ
counterpoint อย่างจริงจัง และมีชื่อเสียงในการแต่งดนตรี opera
ด้วยการนำเนื้อหาของดนตรีจากจุดที่ soft ที่สุดไปถึงจุด
peak นี่เป็นจุดเด่นของเขาครับ
2.
Franz Schubert,
1797-1828 ชูเบิร์ทเป็นชาวออสเตรเลีย
พ่อเป็นครูและเป็นนัก cello สมัครเล่นฝีมือดี
เริ่มเรียนดนตรีเบื้องต้นตั้งแต่ 5 ขวบ ตายตอนอายุ 31 แต่งเพลงไว้เยอะครับ ทั้ง symphony,
string quartet, piano sonata และอื่นๆ อีก 600 กว่าเพลง ..
3.
Hector Berlioz,
1803-1869 เบร์ลิโอสเป็นชาวฝรั่งเศส
เป็นคนที่บุกเบิกดนตรี romantic หลังจากที่ beethoven เริ่มไว้ เขาหัดเป่าขลุ่ยเป็นอย่างแรกตอนอายุ 11 ขวบ
และเริ่มเรียนดนตรีชนิดอื่น
ซึ่งเขาเรียนรู้ได้เร็วมากจนเก่งกว่าครูที่มาสอนในเวลาไม่นาน ..
เขาโดนพ่อบังคับให้เรียนหมอด้วยครับ แต่ก็ทำได้ไม่นาน ใจมันไม่รัก .. ผลงานของ
belioz จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การเรียบเรียงเสียงประสาน
และเขาไม่เคยแต่งเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยวเลย การแต่งเพลงจะเน้นความรู้สึกส่วนตัวมากกว่าจะนึกถึงคนฟัง
แต่งานของเขาก็ได้รับความนิยมสูงมาก
4.
Felix Mendelsohn,
1809-1847 คนนี้แหละครับที่ปลุก
bach ขึ้นมาจากหลุม thanks again
เมนเดลโซห์นเป็นชาวเยอรมัน เป็นลูกนายธนาคารที่ร่ำรวย ที่พูดถึงเพราะมันแปลก
คีตกวีส่วนใหญ่จะยากจนและใช้ชีวิตอย่างลำบาก mendelsohn รวยและสบายกว่าคนอื่น
แต่พออายุ 30 เขาก็เริ่มสุขภาพไม่ดีและแย่ลงเรื่อยๆ จนเสียชีวิตตอนอายุ 38 ..
ผลงานของเขาจะยึดรูปแบบของแนว classic ผสมผสานกับความ
romantic ของตัวเขา
5.
Frederic Francios
Chopin, 1810-1849 โชแปงเป็นลูกผสมฝรั่งเศส+โปแลนด์
เป็นคนบอบบางและอ่อนไหว เขาเริ่มเรียน piano ตอน 7 ขวบ
กับครูสอนเปียโนที่คลั่ง bach, mozart และ beethoven เลยได้ความคลั่งไคล้มาด้วย พออายุ 16 ก็เข้าเรียนที่สถาบันดนตรีวอร์ซอร์
เขามีชื่อเสียงจากการแต่งเพลงสั้นๆ ที่ใช้เล่นกับ piano
ออกมาเป็นชุดๆ เป็นเพลงที่สั้นกว่า sonata หรือ ballade
แต่ให้อารมณ์ที่กว้างมาก .. chopin
ถือเป็นตัวแทนของดนตรี romantic แท้ๆ
ที่แสดงอารมณ์ของคีตกวีอย่างชัดเจน ผลงานของเขาเกือบทั้งหมดเป็นเพลงที่ใช้เล่นกับ
piano ซึ่งเน้นความสวยงามของ melody
6.
Robert Schumann,
1810-1856 ชูมานน์เป็นชาวเยอรมัน เขาแต่งเพลงได้ตอนอายุ 7 ขวบ
แต่พอโตมาหน่อยก็มีปัญหาที่นิ้วนางจากอุบัติเหตุทำให้ไม่สามารถเป็นนักเปียโนได้
เขาเลยหันมาเป็นคีตกวีแทน แล้วยังเขียนหนังสือ ออกวารสาร new music journal ที่ต่อต้านกลุ่มคนที่ทำลายดนตรีเพื่อการค้า
ช่วยส่งเสริมให้เกิดคีตกวีเก่งขึ้นอีกหลายคน .. ช่วงท้ายไม่ค่อยดีครับ
เป็นคีตกวีคนเดียวที่เป็นโรคประสาท คงเครียดกับงานมากไปหน่อย
7.
Franz Liszt,
1811-1886 ลิสซต์เป็นชาวฮังกาเรียน
อายุ 6 ขวบเขาก็จำทำนองเพลง concerto ได้แล้วครับ
ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติของเด็กวัยนั้น เขายังเป็นผู้จัดตั้งสถาบันดนตรี Liszt
Academy of Music ซึ่งดังมากครับ
8.
Richard Wagnor,
1813-1883 วากเนอร์เป็นชาวเยอรมัน
เริ่มเรียนเปียโนตอนอายุ 11 ขวบ แต่เขาชอบ opera มาก
เขาเริ่มเรียน violin กับทฤษฏีดนตรีตอนอายุ 17 ..
เขาแต่งเพลงไว้เยอะมากครับ และถือเป็นคนที่ปฎิวัติรูปแบบ opera การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับ orchestra
และแนวคิดด้านปรัชญาและงานศิลป์ wagnor เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก
ทำให้งานของเขาฉีกแนวออกไปจากความต้องการของผู้คน
แต่ก็ยังได้รับความนิยมอยู่ดีแหละครับ ก็งานมันคุณภาพ
สุดท้ายเขาก็ได้รับสมญานามว่าเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ของโลก
9.
Giuseppe Verdi,
1813-1901 แวร์ดีเป็นชาวอิตาเลียน
ตอน 10 ขวบพ่อเขาเล่นการเมืองครับ เลยไม่ค่อยมีเวลาให้ลูก เขาชอบไปขลุกอยู่ร้านชำที่มี
grand piano อย่างดีจากเวียนนา แล้วก็ขอเขาเล่นครับ
สุดท้ายก็มาอยู่เป็นลูกบุญธรรมไปเลย เรียนดนตรีเป็นเรื่องเป็นราว พออายุ 14 ก็แสดง
piano duet คู่กับลูกเจ้าของร้าน
แล้วก็แต่งงานกัน น้ำเน่าชิบหาย .. แต่ก็นะ เขาเก่งมากในเรื่องการแต่ง opera
ซึ่งเป็นผลงานส่วนใหญ่ของเขาเลยครับ และเขาก็เป็นคนดีมากด้วย
หลังเขาและภรรยาตาย
เขาทำพินัยกรรมมอบสมบัติทั้งหมดให้เอาไปใช้สร้างสถานสงเคราะห์นักดนตรียากจน,
สร้าง verdi concert hall และ verdi
museum ..
10. Johannes Brahmes, 1833-1897 บราห์มส์เป็นชาวเยอรมันครับ พ่อเป็นนัก
double bass และสอนดนตรีให้ตั้งแต่ 5-6 ขวบ
ครอบครัวเขาค่อนข้างยากจน ตัวพ่อเคยโดนกีดกันด้านดนตรีมาตอนเป็นเด็ก
เลยพยายามหาเงินมาสนับสนุน brahmes ให้ได้เรียนดนตรี
โดยแยกมาตั้งวง orchestra รับจ้างเล่นทั่วไป .. brahmes เริ่มจากการแต่งเพลงแนวบรรเลงให้พ่อและวงดนตรีเล็กๆ ตามร้าน
สุดท้ายผลงานที่โดดเด่นของเขาก็เป็นพวก violin concerto และ piano
concerto ซึ่งถือได้ว่าสวยงามและสมบูรณ์แบบในการเล่น
concerto ที่สุดเท่าที่เคยมีคนทำมา แต่เขาก็แต่งพวก symphony
ไว้มากด้วยครับ
11. George Bizet, 1838-1875 บิเซต์เป็นชาวฝรั่งเศส
ผมอ่านว่าไบเซตมาซะตั้งนาน .. พ่อเป็นครูสอนร้องเพลง แม่เป็นนักเปียโน ซึ่งสอน
a,b,c .. ไปพร้อมๆ กับ do, re, me .. ตอนเด็กๆ
เขาสามารถร้องเพลงยากได้โดยไม่ต้องใช้ดนตรีช่วย .. และกลายมาเป็นนักศึกษาอายุ 9
ขวบคนแรกของสถาบันการดนตรี พออายุ 18 ก็ได้รับรางวัล Prix de Rome ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับนักประพันธ์เพลงวัยรุ่น
รางวัลนี้คือการได้เข้าไปอยู่ใน French Academy สถาบันดนตรีในโรม
เพื่อสนับสนุนให้มีเวลาคิดแต่งเพลงไปอย่างเดียวเลย ไม่ต้องทำอะไรอย่างอื่น ..
ผลงานชิ้นเอกของเขาคือ carmen fantasy เป็นงาน opera ดนตรีไพเราะมากครับ ฟังแล้วรู้สึกเร้าใจ
12. Peter Ilich Tchaikovsky, 1840-1893 ไชคอฟสกีเป็นชาวรัสเซียคนแรกในวงการครับ
และมาเริ่มเรียนดนตรีจริงจังตอนที่ปาเข้าไป 21 แล้ว
เพราะโดนพ่อบังคับให้เรียนกฏหมายจนจบปริญญาตรี ต้องทำงานในกระทรวงยุติธรรม
กว่าจะได้มาเรียนวิชาการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวง orchestra ในสถาบันดนตรีแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก .. ตอนอยู่ ไม่รุ่งในรัสเซียครับ
แต่ได้รับการยอมรับมากในยุโรปและอเมริกา โชคดีที่ Madamm Von Meck คอยให้ความสนับสนุน เพราะเธออยากจะเป็นคีตกวีแต่ทำไม่ได้ เลยให้ tchaikovsky
ช่วยทำให้แทน เขาสร้างงานไว้มาก
สุดท้ายรัสเซียก็ยอมรับว่าเขาเป็นคีตกวีที่ชาวรัสเซียภาคภูมิใจ
แต่นั่นมันหลังจากที่เขาตายไปแล้วตั้งนาน ความรู้สึกช้าจังแฮะ..
13. Antonin Dvorak, 1841-1904 ดวอชาคเป็นชาวเชคโกสโลวาเกีย
เป็นคีตกวีที่เน้นชาตินิยม
ดนตรีจะค่อนข้างเร้าใจ และรูปแบบการเรียบเรียงดนตรีสำหรับวง orchestra จะดีเยี่ยม เขาแต่งเพลงเกือบทุกรูปแบบแหละครับ
14. Giacomo Puccini, 1858-1924 ปุกชินีเป็นชาวอิตาเลียน
เกิดในครอบครัวยากจน พ่อเป็นนัก organ แต่ตายตั้งแต่
puccini อายุได้ 6 ขวบ ค่อนข้างลำบากครับ
ทางการให้ความช่วยเหลือให้ได้เรียนดนตรี ซึ่งไม่เสียเปล่า พออายุ 14 เขาก็เล่น organ ตามโบสถ์ได้แล้วครับ พออายุ 19 ก็แต่งเพลง motet งานของเขาจะเด่นด้าน
opera ซึ่งว่ากันว่าสามารถสร้างอารมณ์ให้ผู้ชมคล้อยตามได้มากทีเดียว
8.
The
Impressionistic - ยุคอิมเพรสชันนิส -- 1890-1910 ดนตรี impressionistic จะเน้นจินตนาการฝันเฟื่อง
อารมณ์สงบล่องลอย และลีลาที่นุ่มนวล .. มีการเปลี่ยนแปลงบันไดเสียงด้วยครับ
เดิมเป็นแบบ diatonic ที่มี 7 เสียง มาเป็นแบบ whole-tone
scale ที่มี 6 เสียง ระยะห่าง 1 เสียงเต็ม การเคลื่อนที่ของ chord จะเป็นแบบคู่ขนาน เราก็จะได้ดนตรีที่เรียบๆ นุ่มนวลมาฟังกัน แล้วมันจะมันส์ไหมเนี่ย
อะมาลองดูก่อน อย่าเพิ่งไปตัดสินอะไรใคร เดี๋ยวจะต้องกลืนน้ำลายตัวเองทีหลัง เออ
ถ้าไม่กลืนแล้วจะให้เอาไปไว้ไหน ..
คีตกวีของยุค
1.
Claude
debussy, 1862-1918 เดอบุสซีเป็นชาวฝรั่งเศส
เขาเป็นคนที่ชอบฝ่าฝืนกฏ ทำให้รูปแบบของงานด้านการประสานเสียงของเขามีลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเอง
วัตถุดิบของเขามักจะมาจากความประทับใจในสิ่งที่เขาพบมา
2.
Maurice
ravel, 1875-1937 ราเวลเป็นชาวฝรั่งเศส เริ่มเรียน piano ตอนอายุ 7
ขวบ เรียนการประสานเสียงตอน 11 ขวบ งานของเขาจะมีกลิ่นไอของดนตรี classic มากกว่า impressionistic .. เขาเป็นคนที่สวนกระแสด้วยครับ
ยิ่งคนชอบเขามากขึ้นเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งทำตัวธรรมดามากขึ้นเท่านั้น
เขาสร้างงานดนตรีบริสุทธิ์ ที่ไม่มีเรื่องการค้าหรือความต้องการชื่อเสียง
ผลงานโดดเด่นของเขาเป็นงานด้านการเรียบเรียงเสียงประสานให้กับวง orchestra ที่ผมรู้จักคงเป็นเพลงเดียว bolero มันจะเริ่มจากเบาๆ
แล้วลากอารมณ์คุณให้พุ่งขึ้นได้ ลองหาฟังดูครับ
9.
The
Twentieth Century - ยุคศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน -- 1900-now อันเนื่องมาจากความเจริญของเทคโนโลยี
ทำให้องค์ประกอบของดนตรีมีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้คนเริ่มกลับมาหลงไหลดนตรียุค
classic จึงมีการเอาแบบแผนการแต่งเพลงของยุคนั้นมาประยุกต์ใช้ร่วมกับทฤษฏีดนตรียุคใหม่
แต่ตัวโครงสร้างหลักยังเน้น ระดับเสียง ความดัง-ค่อย ความสั้น-ยาวของโน้ต
และสีสันของเสียง
คีตกวีของยุค
1.
Arnole Schoenberg,1874-1951
โชนเบิร์กเป็นชาวออสเตรีย
เรียน violin กับครูเพียงอย่างเดียว นอกนั้นหัดเล่นเอง
แต่เขาก็เล่นดนตรีได้ดีทุกอย่าง .. เขาสร้างแนวการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่คือ twelve
tone system (atonality)
เป็นการนำเสียงสูง-ต่ำ 12 เสียง
มาเรียงลำดับที่แน่นอนและให้ความสำคัญเท่ากันทุกเสียง โดยไม่ให้มีเสียงหลักเกิดขึ้น
2.
Bela Bartok,
1881-1945 บาร์ตอคเป็นชาวฮังการี
วัตถุดิบของเขาจะเป็นเพลงพื้นเมืองฮังการีและรูมาเนียเป็นส่วนใหญ่
เขาถูกจัดเป็นคนที่มีความรอบรู้ในดนตรีพื้นเมืองอย่างดี
3.
Igor Stravinsky,
1882-1971 สตราวินสกีเป็นชาวรัสเซีย
เขาสร้างดนตรี style ใหม่ขึ้น มีทั้ง neo-classic คือเป็นรูปแบบของเพลง classic แต่มีทำนองและเสียงประสานแบบสมัยใหม่
และ impressionis แบบใหม่ .. งานที่ทำให้คนตกใจคือ the
rite of spring เป็นเพลงที่ใช้หลายบันไดเสียงในเวลาเดียวกัน
มีการเปลี่ยนจังหวะอยู่ตลอดเวลา เป็นการฉีกแนวดนตรีเก่าออกอย่างสิ้นเชิงจนผู้คนรับไม่ได้
แต่สุดท้ายก็ได้รับความนิยมครับ
4.
Aban Berg,
1885-1935 เบิร์กเป็นชาวออสเตรียและเป็นศิษย์ของ
schoenberg เขาเลยนำ atonality มาพัฒนารูปแบบให้เป็นของตนเอง
งานเด่นของเขาจะเป็นกลุ่ม opera และ violin concerto
5.
Sergei Prokofiev,
1891-1953 โปรโกเฟียฟเป็นชาวรัสเซีย
เริ่มต้นจากการเรียน piano กับแม่ตั้งแต่เด็ก พอ 9
ขวบเขาก็สามารถแต่งเพลงบรรเลงและ opera ได้แล้ว
งานเด่นของเขาจะมีทั้ง symphony, opera และ ballet
6.
Paul
Hindemith, 1895-1963 ฮินเดมิธเป็นชาวเยอรมันครับ
เป็นทั้งคีตกวี นัก violin นัก viola ดนตรีของเขาจะเน้นรูปแบบของ
atonality แต่ก็ใช้เสียงหลักด้วย เป็นความแตกต่างจาก schoenberg
7.
George
Gershwin, 1898-1937 เกิร์ชวินเป็นชาวอเมริกัน
ดนตรีเด่นของเขาจะเป็นงานสำหรับ piano, orchestra และ jazz งานของเขามีอิทธิพลมากกับดนตรีประเภท serious music
8.
Aaron Copland,
1900-1991 คอปแลนด์เป็นชาวอเมริกัน
ดนตรีของเขาจะใช้วัตถุดิบที่นำมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตของชาวอเมริกันเอง
ผลงานเด่นของเขาจะเป็นงานสำหรับ ballet และวง
orchestra
9.
Dmitri
Shostakovich, 1906-1975 ชอสตาโกวิชเป็นชาวรัสเซีย
ดนตรีของเขามีความล้ำสมัยเกินหน้าเกินตาคนอื่น
และสร้างปัญหาในการทำความเข้าใจของผู้ฟัง ทำให้เขาถูกวิจารณ์ค่อนข้างมาก
แต่เขาก็ยังคงแต่งเพลงตามความต้องการของตัวเอง ไม่แคร์สื่อครับ
สุดท้ายงานคุณภาพก็ได้รับการยอมรับอยู่ดี คำจำกัดความถึงงานของเขาคือ รุนแรง
เด็ดขาด ชัดเจน และเปิดเผยตรงไปตรงมา
10. Karlheinz Stockhausen, 1928-… สตอคเฮาเซนเป็นชาวเยอรมัน
งานของเขาส่วนหนึ่งใช้หลัก atonality, ใช้เครื่องดนตรี
electronic และเน้นการพัฒนาความคิดของผู้ฟังให้มีส่วนในการทำความเข้าใจดนตรีด้วยตัวเอง
เขาเป็นคนแรกที่พิมพ์โน้ตดนตรีแบบแผนภูมิ ทำได้ด้วยเหรอวะ..
11. Philip Glass, 1937-… กลาสเป็นชาวอเมริกัน
แนวดนตรีของเขาจะเป็นการบรรเลงทำนองหนึ่งซ้ำๆ กันไป โดยเพิ่มตัวโน้ตเข้าไปครั้งละ
2 ตัว สุดท้าย จากโน้ต 8 ตัวในวรรคแรก ก็กลายมาเป็นโน้ต 210 ตัวในวรรคสุดท้าย
งานเด่นของเขาจะเป็นดนตรีบรรเลงแบบ electronic และ opera
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น