ว่าแล้วก็มาศึกษาให้มันเข้าใจไปเลยละกัน จะได้หายข้องใจ
แล้วก็จัดการสรุป มาเก็บไว้อ่านอีกทีหลัง เผื่อลืม
จะได้มีที่กลับมาทบทวน ไม่ต้องไปศึกษากันใหม่
IQ = Intelligence Quotient
เป็นความคิดดั้งเดิมในปี 1950
เป็นการวัดความฉลาดด้วยแบบทดสอบเกี่ยวกับไหวพริบ การแก้ปัญหาด้านตรรกะ ตัวเลข
ความจำ ความสามารถทางภาษา การคิดวิเคราะห์ ทักษะในการรับความรู้ นำมาใช้มากในช่วงสงครามโลกครั้งที่
1 เพื่อคัดแยกทหารอเมริกันเข้าประจำการในตำแหน่งต่างๆ ของกองทัพ
ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม เพราะมีข้อจำกัดและความไม่แน่นอนมากเกินไป
จากผลงานวิจัยกับคน 450 คนใน sommervill แมทซาชูเซท อเมริกา พบว่า IQ
มีผลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิตเพียง 20% เท่านั้น
ปัจจุบันพบว่า ความฉลาดของบุคคลไม่ได้มีแค่นั้น
มันมีความหลากหลาย เป็นรูปแบบของ Multiple Intelligence โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนจะมีความฉลาด
8 ด้าน
1.
Linquistic Intelligence เป็นความสามารถด้านภาษา
เช่น สามารถพูดโน้มน้าวผู้อื่น มีความสามารถด้านการเขียน ด้านบทกวี
และการประดิษฐคำ
2.
Logical-Mathemetical Intelligence ความสามารถในการใช้เหตุผล
การคำนวน ตัวเลข การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
3.
Spatial Intelligence
ความสามารถในการสร้างภาพในสมอง จินตนาการ สร้างสรรค์
4.
Bodily-kenesthetic Intelligence สามารถใช้ร่างกายได้คล่องแคล่ว อาจเป็นด้านกีฬา การแสดง การเคลื่อนไหว
การสัมผัส ภาษากาย
5.
Musical Intelligence
ความสามารถด้านดนตรี การจับระดับเสียงที่มีความแตกต่าง จดจำทำนอง จังหวะ
และการร้องเพลง
6.
Interpersonal Intelligence ความสามารถในการสื่อสาร จัดการ ความเป็นผู้นำ ความเข้าใจคนอื่น
7.
Intrapersonal Intelligence ความสามารถในการเข้าใจตนเอง รู้ศักยภาพของตน ทำงานคนเดียวได้
มีความสามารถในการคิดใคร่ครวญ ทำตามความสนใจของตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง
8.
Naturalist Intelligence ความสามารถในการเห็นความงาม เห็นความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติ
EQ = Emotional Quotient
เป็นความฉลาดทางอารมณ์ - การรู้จักตัวเอง
สามารถจัดการควบคุมอารมณ์ตนเอง บังคับใจตนเองได้ รูัจักผิดถูก
สามารถจัดการกับปัญหาได้ ไม่ท้อแท้ง่าย ปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี
จากการวิจัยของมหาวิทยาลัย California at Berkeley ตั้งแต่ปี 1950 โดยเก็บข้อมูลนักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์ จำนวน 80
คน โดยมีการวัดระดับ IQ ทดสอบบุคลิกภาพ สัมภาษณ์โดยนักจิตวิทยา
แล้วทำการติดตามผลนานถึง 40 ปี
สรุปผลการวิจัยออกมาว่า ระดับ EQ มีความสำคัญกว่า IQ ประมาณ 4 เท่า ในการกำหนดความสำเร็จในอาชีพ ครอบครัว และสถานภาพทางสังคม
ความหมายต่างๆ ของ EQ
-
อารมณ์เป็นสภาวะทางจิตใจและชีววิทยา
เป็นวิสัยแนวโน้มที่จะแสดงออก (Goleman 1995)
-
EQ คือชุดของความสามารถส่วนตัว ด้านอารมณ์
สังคม ของบุคคล
ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการกับแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมได้อย่างดี (Bar-on
1992)
-
EQ มีความสัมพันธ์ต่อความคิด สติปัญญา
บุคลิกภาพ อุปนิสัย ความรู้ ความเชื่อ ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดพฤติกรรมในการแก้ปัญหา
การปรับตัว และการแสดงออก
EQ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1995
ของหนังสือเรื่อง Emotional Intelligence : why it can matter more than IQ
โดย Daniel Goleman's สรุปได้คร่าวๆ ว่า EQ มีองค์ประกอบอยู่ 5 อย่าง
1. Self Awareness การรู้จักตัวเอง รู้จักความรู้สึกของตนเอง
เข้าใจพฤติกรรมของตนเอง
2. Personal Accountability
ความสามารถในการควบคุมและจัดการอารมณ์ของตนเอง ควบคุมแรงกระตุ้นกระทันหันที่เข้ามากระทบอารมณ์ได้
ควบคุมความฉุกระหุกที่เกิดขึ้นกับตนเองได้
3. Positive Self-Motivated Powerful Impetus : Honesty and
Integrity แรงขับเคลื่อนตนเองในทางที่ดี จากคุณธรรมพื้นฐานด้านดี
สามารถรับแรงกดดันได้
4. Empathy and Sensitivity ความเข้าใจและไวต่อความรู้สึกของคนอื่น
5. Capacity to develop and sustain relationships
ความสามารถในการพัฒนาและรักษาความสัมพันธ์
คน EQ สูง คือคนที่ต้องรู้ว่า
เมื่อไรที่ต้องควบคุมหรือแสดงอารมณ์ และต้องแสดงและควบคุมอารมณ์อย่างไร
MQ – Moral Quotient
คือศีลธรรม
ความรู้ถูก รู้ผิด รู้จุดยืนของตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่เห็นแก่ตัว
มีความซื่อสัตย์ รู้ความถูกต้อง มีความจริงใจ มีความเคารพตนเองและผู้อื่น
ประกอบด้วย ehics, integrity, spiritual civilization
การที่จะทำให้บุคคลมี
MQ อยู่ในระดับดีได้
จำเป็นต้องมีการปลูกฝังให้มีพื้นฐานตั้งแต่เด็กโดยเฉพาะ 3 ปีแรก
ซึ่งจะเป็นการเตรียมไว้รอการกระตุ้นอีกครั้งเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่และได้รับการอบรมพัฒนาเพิ่ม
ถ้าไม่มีพื้นฐานที่ดี เมื่อโตขึ้นไม่ว่าจะได้รับการกระตุ้นอย่างไรก็ไม่ทำให้คนๆ
นั้นเป็นคนดีได้เท่าที่ควร
คนที่มี
MQ สูงจะมีลักษณะเด่น 3 อย่างคือ
1.
สามารถควบคุมตนเองไม่ให้ทำในสิ่งผิด
2.
มีความดีเป็นรากฐานของการกระทำ
3.
คำพูดของเขาคือเกียรติ
AQ = Adversity Quotient หรือ Advancement
Quotient
ความสามารถในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น การฟันฝ่าอุปสรรค
ความอดทนต่อความยากลำบากทางกายและใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน
เป็นรูปแบบพฤติกรรมการตอบสนองต่อปัญหา หรือความสามารถทางกาย ใจ กำลังใจ
ที่จะทำประโยชน์ให้เกิด จากอุปสรรคที่ขวางอยู่
AQ มี 4 ลักษณะคือ
1.
สามารถควบคุมสถานการณ์ได้เมื่อต้องเผชิญกับปัญหา
2.
ความพยายามที่จะควบคุม
แก้ไขสถานการณ์
3.
วิธีคิดหรือมองปัญหาและหาทางออกได้
4.
ความสามารถที่จะอดทนต่อปัญหาต่างๆ
AQ theory of Stoltz แยกคนในองค์กรต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1.
Climbers เป็นกลุ่มคนที่แสวงหาเรื่องที่ท้าทายความสามารถ
2.
Campers มีอยู่ประมาณ 80% ของคนในองค์กรทั่วไป คนกลุ่มนี้จะคิดว่า
เท่าที่ทำอยู่นี้เพียงพอกับความสามารถของตัวแล้ว
3.
Quitters เป็นพวกที่ไม่ยอมเสี่ยง
ไม่พยายามทำอะไรทั้งสิ้น พวกเขาเลือกที่จะทำแต่สิ่งง่ายๆ อยู่อย่างสบายๆ
อีกทฤษฏีหนึ่ง มีการแบ่ง AQ ออกเป็นคน
5 กลุ่ม
A – AQ-High
เป็นกลุ่มที่ชอบความท้าทาย สามารถแก้ปัญหา ขจัดสิ่งกีดขวาง เอาชนะอุปสรรค
B – AQ-Medium เป็นกลุ่มที่ยินดีสู้ชีวิต
พอถึงจุดที่ตนพอใจ ก็จะหยุด
C – AQ-Low
เป็นกลุ่มที่พอต้องเริ่มต่อสู้ก็ยอมแพ้ คนกลุ่มนี้มีความกระตือรือร้นที่จะสู้
มีการวางแผน แต่พอเจอปัญหาจะหยุดทันที
D – AQ-Very Low
เป็นกลุ่มที่มีความรู้ เข้าใจชีวิต แต่ไม่อยากต่อสู้
E – AQ-Zero เป็นกลุ่มที่ไม่รู้จักขวนขวายหรือทำอะไรด้วยตัวเอง
ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นตลอดเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น