While I thought that I was learning how to live, I have been learning how to die - Leonardo da Vinci

บทความเหล่านี้ หากเป็นประโยชน์กับท่าน ผมก็ดีใจ หากจะนำไปใช้ที่อื่น ผมก็ยินดี แต่กรุณาอ้างอิงที่มานิดนึง จัดเป็นมารยาทพื้นฐานในการใช้บทความของผู้อื่นใน internet หลายเรื่องผมต้องค้นคว้า แปลเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้อง กลั่นกรอง เรียบเรียง ใช้เวลา ใช้สมอง ใช้ประสบการณ์ การก๊อปไปเฉยๆ อาจทำให้คนอื่นคิดว่าคนที่นั่งคิดนั่งเขียนแทบตายห่ากลายเป็นคนก๊อป ผมเจอเพจที่เอาเรื่องของผมไปตัดโน่นนิดนี่หน่อยให้เป็นงานของตัวเอง ไม่อ้างอิงที่มา ไม่ละอายใจหรือ .. สงสัยอะไร comment ไว้ ผมจะมาตอบ แต่ถ้าใครมาแสดงความไพร่หรือด่าทอใครให้พื้นที่ของผมสกปรก ผมจะลบโดยไม่ลดตัวลงไปยุ่งเกี่ยว อยากระบายไปหาที่ของตัวเองครับ หมายังขี้เป็นที่เป็นทางเลยจ้ะ นี่ก็เคยเจอ ไม่รู้พ่อแม่สอนมายังไง!!!

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

ความลึกลับของกาลเวลา : The mystery of time - Avantasia - Savior in the clockwork


อยากลองของครับ จะวิจารณ์ดนตรีที่แนะนำไว้ใน facebook เมื่อหลายวันก่อน Savior in the clockwork” เอาเพลงเดียวก็คงแทบจะอ้วกแล้วแหละครับ เคยนึกอยากจะเล่นเรื่องของ the olarn project วงเก่าแก่ในดวงใจอยู่เหมือนกัน แต่ช่วงนี้ไม่ได้ฟัง เลยไปไม่ถูก เก็บไว้ก่อนละกันครับ

ขอย้อนไปถึงที่มาอันน่าสนใจ ของอัลบั้ม The mystery of time จากวง Avantasia ก่อนสักนิดครับ อัลบั้มชุดนี้ทำเป็น 2 CD โดยที่แผ่นแรกเป็นเพลงปกติที่มีทั้งเสียงร้องและดนตรี แผ่นหลังจะเป็นดนตรีอย่างเดียวโดยมีเสียงร้องคลอนิดหน่อย ผมไม่แน่ใจว่าเขาต้องการให้เป็นคาราโอเกะรึเปล่า แต่ถ้าคุณได้ฟังแล้ว ก็คงจะคิดเหมือนผมว่า น่าจะไม่ .. เพลงของเขา มันยากมากที่คนทั่วไปจะร้องให้ดีได้ เพราะมันเป็นรูปแบบของ symphonic metal เป็นการผสมผสานที่หาคนทำได้ดีก็ยังยากเลยครับ .. ผมเลยเชื่อว่าแผ่น 2 น่าจะเป็นความต้องการโชว์ ชิ้นส่วนของเสียงดนตรีที่อุตส่าห์บรรจงทำกันขึ้นมา ให้ผู้ฟังมีโอกาสได้ดื่มด่ำกันดยไม่มีเสียงร้องมากลบ และผมก็ชอบมันมากด้วย ให้ตายสิ ..  เพลงหนึ่งฟังเป็นวัน ก็ยังค้นพบเสียงใหม่ๆ ซ่อนอยู่ ที่คราวก่อนเราไม่เจอ มันช่างซับซ้อนและคุ้มค่าต่อการฟังจริงๆ
คุณอาจกำลังนึกถึงวง symphony .. ไม่ใช่เลยครับ เขาใช้เครื่องดนตรีพื้นๆ เพียงไม่กี่ชิ้น มีแค่กีตาร์ เบส กลอง คีย์บอร์ด กับคนร้อง เท่านี้เอง .. ความสามารถของแต่ละคนต่างหาก ที่ทำให้ดนตรีมีความซับซ้อน แตกต่าง และน่าตื่นใจ ไม่เหมือนดนตรีเกลื่อนๆ ทั่วไป
ผู้แต่งเนื้อและทำนองหลักคือ Tobias Sammet ชาวเยอรมัน ผู้ก่อตั้งวง Avantasia ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายอัลบั้ม และเป็นนักร้องนำของวง Edguy ด้วย .. ที่ผมพูดว่าทำนองหลัก เพราะนักดนตรีของวงประเภทนี้ มีฝีมือเท่าไหร่ก็ยัดกันเข้าไป ไม่ให้หลุดจากแนวทางหลักก็พอ คล้ายๆ การ improvise ในยุคบาโรคที่เคยพูดถึงไปแล้วน่ะแหละครับ แต่มีผลทำให้วงขึ้น chart หรือร่วงได้เลยครับ
Savior in the clockwork  ตัวที่เป็น instrument เริ่มจาก keyboard บรรเลงแบบนุ่มนวลแต่ค่อนข้างอลังการ พอถึงนาทีที่ 1.04 กีตาร์และกลองก็เริ่มประโคมอย่างมีจังหวะจะโคน เสียงกีตาร์จะแน่นมากเพราะเล่นกัน 2 คนครับ การโซโลที่มีทั้งแบบอุดสาย เปิดสายและกัดปิ๊คไปด้วย ช่างบาดใจ  เสียงเบสก็เด่นและเติมเต็มช่องว่างอย่างได้อารมณ์
พอนาทีที่ 2 กลองเริ่มให้จังหวะที่ช้าลง มือกลองเก่งๆ เขาไม่ได้ตะบันตีกันหรอกครับ แต่เขาสามารถสร้างจังหวะ ดึงอารมณ์ให้เราคล้อยตามได้ .. กีตาร์มาเล่นแบบสายเปิด ซึ่งไม่ค่อยเจอให้สไตล์ดนตรีแบบนี้ มันมีความนุ่มที่หนักแน่นอยู่ในตัว .. ตามด้วยการเล่นสายเดี่ยวกับการเรียงตัวโน๊ตที่ได้เสียงต่างค่อนข้างมาก และโดนใจ แบสยังคงเดินทำนองให้จังหวะที่แน่นกระชับ แล้วกีตาร์ก็หันมา rhythm ด้วยจังหวะช้า แต่ไม่ได้เท่ากันทุกห้อง เข้าท่ามาก .. (นึกได้ ขอกัดหน่อยนะครับ นานมาแล้วมีนักกีตาร์เพลงร็อคคนไทย ที่ไปลอกทำนองฝรั่งมาทั้งดุ้น อาจคิดว่าคนไทยไม่ฟังเพลงนอก ไม่รู้หรอก พอความแตก เขาตอบคำถามว่า ก็โน๊ตมันมีแค่ 8 ตัว ไอ้หัวขวดเอ๊ย แปลว่าไม่เคยเรียนทฤษฎีดนตรีมาเลยสิท่า พูดไม่คิด)
พอจะเริ่มนาทีที่ 3 ทั้งกลอง เบส และกีตาร์ก็เริ่มโหมโรงอีก ก่อนที่จะใช้ dynamic เพิ่มสีสรร แล้วกีตาร์มาเล่นเสียงเปิด พร้อมๆ กับเสียง chorus เริ่ม ช่างหวานจับใจ 

time to run! .. for how long .. time will fly on .. back inside .. in between the time

พอนาทีที่ 3.30 กีตาร์ตัวหนึ่งก็แสดงความเร็วในการ rhythm ให้เราได้ฟังกัน ในขณะที่อีกตัวก็โซโลคอร์ดร็อคไปด้วย  มีการดันสายกัดปิ๊คอีกตะหาก จากนั้นจังหวะก็ soft ลงอีก
จนถึงนาทีที่ 4.40 ก็เริ่ม rhythm ด้วยจังหวะช้าๆ ใหม่ แล้วตามด้วย chorus จากนั้นนุ่มลง พอนาทีที่ 5.50 ไปก็เอาล่ะครับ เป็นการโซโลแหลกราญ ก็สารพัดเทคนิคพี่เขาล่ะครับ 2 ตัวแทรกกันไปแทรกกันมา หาความบันเทิงได้หลายรอบก็ยังฟังได้ไม่หมด (การหลับตาจะช่วยให้คุณฟังเสียงได้ดีขึ้นนะ ลองดูสิ มันช่วยตัดสิ่งเร้าภายนอกออกไปได้พอสมควรเลยทีเดียว)
จากนาทีที่ 6.40 ไป ผมรู้สึกเหมือนเพลง soundtrack ยุค 90 เลย ภาพ London ยุคเก่ามันผุดขึ้นมาในหัวน่ะ มันมีกลิ่นไอแปลกๆ เป็นความรู้สึกประหลาดที่ดีน่ะครับ เป็นความเชื่องช้าที่แสนสง่างาม เสียงกลองและเบสที่หายไปกลับช่วยเพิ่มอรรถรสในการฟัง นานๆ ได้ยินทีก็ดีใจ, กีตาร์หันมาเล่นแบบ acoustic หลังผ่านการโซโลดีเดือดมาแล้ว, keyboard ค่อยๆ ลากเสียงเปลี่ยน melody อย่างเชื่องช้า .. สวยงามจริงๆ ครับ
พอเราใกล้หลับเต็มที (ฮ่ะๆ ผมพูดเล่น .. melody แบบนี้คุณหลับไม่ลงหรอก) ในนาทีที่ 7.36 เสียงกีตาร์ก็เข้ามาปลุกเราให้ตื่นจากภวังค์ ด้วย rhythm จังหวะช้าๆ แต่หนักแน่น แล้วยังมีเสียง keyboard กุ๊งกิ๊งเป็น background ให้เรายิ้มได้อีก แต่พอนาทีที่ 8 พี่ท่านก็เริ่มโซโลคอร์ดร็อคไปครึ่งนาที จากนั้นก็เอา scale มาเล่น ให้คนฟังวิ่งตามเสียงสูงต่ำไปด้วย กีตาร์อีกตัวที่เล่นเสียงใสๆ อยู่ข้างหลังนั่นก็หวานจับใจเหมือนกัน
พอนาทีที่ 9.15 ก็เริ่มมีการสร้างเสียงแปลกๆ เพิ่มเข้ามาอีก โดยเพิ่ม speed ขึ้นไปด้วย ตามด้วย chorus อีกรอบเป็นอันจบเพลงที่มีความยาว 10.40 นาที
ผมว่า เพราะเพลงนี้มีหลายรูปแบบในตัวเอง อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนจังหวะไปมาตลอดตัวเพลง ทำให้เกิดความรู้สึกถึงความน่าฟังมากขึ้น .. ในช่วงที่ช้าก็ไม่ได้น่าเบื่อ เพราะกลองและเบสเข้ามามีบทบาทค่อนข้างมากในการสร้างอารมณ์นำทางให้กับผู้ฟัง ผมเลยรู้สึกว่ามือกลองโคตรเก่ง เขารู้จักทิ้งช่วง ให้จังหวะ ได้พอเหมาะมากๆ .. เคยมีมือกีตาร์ระดับโลกคนหนึ่งกล่าวว่า ตรงที่หยุดนั่นล่ะเป็นเงิน ประมาณนี้น่ะ ผมจำแบบคำต่อคำไม่ได้ .. แต่เพลง Four thirty-three ของ John Cage ผมก็เอ่อ .. ไม่ไหวจริงๆ ครับพี่ ฟังแล้วมันรู้สึกทุรนทุรายยังไงไม่รู้ แต่ถ้าคุณกำลังอารมณ์เสีย เพลงนี้จะช่วยให้คุณหัวเราะออกเลยล่ะครับ ไม่เชื่อ ต้องลองเอง
และโดยรวมแล้ว ผมว่ารูปแบบของเพลง มันค่อนไปทางเพลง symphony ที่มีความสมบูรณ์ครบทั้ง rhythm, tone, dynamic, time, melody, harmony, form และ texture เลย ตัวเพลงไม่ได้เร็วมาก ไม่ได้ช้ามาก แต่ก็มีจังหวะจะโคนให้โยกได้ทั้งเพลงล่ะครับ สร้างอารมณ์อ่อนไหว จนทำให้ผมคิดจะเขียนเรื่องการรักใครสักคนในบทความหน้า อีกทั้งยังช่วยให้ผมไม่หลับในเวลาทำงาน และครึกครื้นมาได้ตั้งหลายวัน .. เอาล่ะ ขอให้สนุกกับการฟังกันนะครับ
ภาคผนวก ดูแต่ละคนที่เขาเอามาร่วมเล่นสิครับ คุณยังคิดว่าควรพลาดอีกเหรอ
Vocal
Tobias Sammet (Edguy) : all tracks
Michael Kiske (ex-Helloween, Place Vendome, Kiske/Somerville, Unisonic) : Where Clock Hands Freeze, Savior In The Clockwork, Dweller In A Dream
Bob Catley (Magnum) : The Great Mystery
Cloudy Yang : Sleepwalking
Joe Lynn Turner (ex-Rainbow, ex-Deep Purple, ex-Yngwie Malmsteen) : Spectres, The Watchmakers' Dream, Savior In The Clockwork, The Great Mystery
Biff Byford (Saxon) : Black Orchid, Savior In The Clockwork, The Great Mystery
Ronnie Atkins (Pretty Maids) : Invoke The Machine
Eric Martin (Mr. Big) : What's Left Of Me, Black Orchid
Musician
Tobias Sammet (Edguy) : bass
Michael "Miro" Rodenberg (Aina, Kamelot) : keyboard all
Sascha Paeth (ex-Heavens Gate, Aina) : guitar all
Bruce Kulick (Kiss) : guitar lead (3,6,10)
Oliver Hartmann (ex-At Vance) : guitar lead (4,7)
Arjen Anthony Lucassen (Ayreon, Star One, Guilt Machine, Ambeon, ex-Stream of Passion, ex-Vengeance, ex-Bodine ) : guitar lead (2)
Russell Gilbrook (Uriah Heep) : drum all
Ferdy Doernberg (Axel Rudi Pell) : hammond organ (2)
The Mystery Of Time Members
Tobias Sammet                   - Composer
- Lead vocals (2001–present)
- Bass guitar (2007–present)
- Keyboards (2001–2002)
Sascha Paeth                      - Guitars (2007–present)
- Producer (2007–present)
Occupations - Musician, guitarist, record producer, sound engineer Instruments - Guitar, bass, keyboards, vocals, mandolin, balalaika Years active - 1989–present
Associated acts - Heavens Gate, Aina, Avantasia, Luca Turilli, Angra, Gamma Ray, Rhapsody, Kamerot, Epica, Edguy, Shaman, etc.
Russell Gilbrook                 - Drums (2013–present)
Occupations - Musician, drummer
Instruments – drum
Associated acts – Uriah Heep, Liberty DeVitto, Chris Barber, Alan Price, Tony Lomni, Lonnie Donegan, Johm Farnham, Van Morrison, etc.
Michael "Miro" Rodenberg                 - Keyboards (2007–present)
                                                -
Orchestration (2007–present)
Associated acts – Avantasia, Aina, Angra, Shaaman, Luca Turilli, Rhapsody of Fire, Kamelot, Heavens Gate








ไม่มีความคิดเห็น: